จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันพุธที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2554

วัตถุมงคลอาจารย์นา วัดบางปิ้ง

ชุดอาจารย์นา

พระผงพิมพ์สมเด็จลองพิมพ์
พระผงสมเด็จพิมพ์พระประธาน สร้างขึ้นเมือปี พ.ศ. ๒๕๑๒ มวลสารสำคัญ คือ ผงอิธเจ ปถมัง ตรีนิสิงเห ที่ท่านเป็นผู้เขียนและลบเอง ผสมกับข้าวสุก กล้วย พลอย และแร่ศักดิ์สิทธิ์ซึ่งท่านได้มาในช่วงรุกขมูลแถบจังหวัดจันทบุรี ท่านเล่าว่า ท่านเป็นผู้รวบรวมผสม ตำได้ประมาณค่อนหม้อข้าว และนำมาปลุกเสกก่อนนำไปกดพิมพ์ระโดยตัวท่านเอง ทำได้ประมาณ ๑๐๐ กว่าองค์ พิมพ์ตื้นไม่คมชัด เนื้อหาของพระ มวลสารเข้มข้นแก่น้ำมันตังอิ๊ว สีออกเหลือง  พระชุดนี้ถูกเก็บลืมไว้ในกุฏิเป็นเวลา ๑๗ ปี นำมาให้บูชาอีกครั้งเมื่อปี ๒๕๒๙




สร้างปี ๒๕๑๒ เป็นพระปิดตาเนื้อผงผงพุทธคุณทั้ง ๕ และผงโสฬสที่ท่านลบผง ตำผง และพิมพ์เองด้วย ท่านนำเนื้อที่เหลือจากการกดพิมพ์พระพิมพ์สมเด็จมาผสมแป้งดินสอพองเสกกดเป็นพิมพ์พระปิดตา มวลสารเกาะตัวกันพอสมควร เนื้อออกฟู ไม่แข็งแกร่ง แห้งยุบตัวตามอายุ พระฯชุดนี้มี ๒ พิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่ และเล็ก

พระสมเด็จปรกโพธิ์ ปี๒๕๓๖
ด้านหลังเป็นรูปเหมือนครึ่งองค์

วันอาทิตย์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ประวัติพระครูพิพิธพัฒนพิธาน (นา)

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ตรงกับขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน๕ ปีชวด ณ บ้านเลขที่ ๒๑ หมู่ ๑๖ ตำบลบางหญ้าแพรก อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งมีนายกระจ่าง นางละม่อม พูดหวาน เป็นผู้ให้กำเนิด เด็กชายลำเจียก พูดหวาน ขึ้นมาเป็นบุตรคนหัวปี และยังมีน้องร่วมสายโลหิตอีก ๑ คน ครั้นต่อมาด้วยมรสุมชีวิตทำให้เด็กชายลำเจียก พูดหวาน ต้องประสบกับชะตากรรมกลายเป็นเด็กที่ต้องกำพร้าบิดามารดาตั้งแต่อายุได้เพียง ๓ ขวบเท่านั้น ชีวิตก็ยังไม่สิ้นเสียทีเดียว พระครูสถิตธรรมคุณ(อาจารย์เผย) เจ้าอาวาสวัดบางหญ้าแพรก ได้ให้ความเมตตาอุปการะไว้เมื่ออายุได้ ๖ ขวบ ให้การศึกษาที่โรงเรียนวัดบางหญ้าแพรกจนจบการศึกษาชั้นประถมปีที่ ๔ และเมื่ออายุได้ ๑๕ ปี ท่านก็บรรพชาให้เป็นสามเณร ได้ร่ำเรียนรู้ปริยัติธรรม จนสอบนักธรรมตรีได้ และสนใจศึกษาหนังสือขอมโบราณจนอ่านออกเขียนได้ในชั้นต้นเป็นอย่างดี อยู่ต่อมาทางเดินของชีวิตก็เปลี่ยนไปจนจำต้องลาสิกขาออกมาเพื่อประกอบสัมมาอาชีพ ทำสวนเลี้ยงชีพอยู่ ๒ ปี แล้วก็ได้โยกย้ายไปอยู่จังหวัดฉะเชิงเทราอีกเป็นเวลานาน ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ นั้นเอง วาระการรับใช้ชาติก็มาถึง พลฯ ลำเจียก พูดหวาน จึงได้เข้าประจำการกองทัพเรือจนสิ้นสุดหน้าที่ก็ปลดประจำการออกมาดำเนินชีวิตผจญกับความวุ่นวายมากมาย จนอายุได้ ๒๔ ปี ก็เบื่อชีวิตในทางโลก จึงตัดสินใจ เข้าพึ่งทางรสพระธรรมหวังยึดเอาคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นเครื่องดับทุกข์ตลอดไป

เมื่อวันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๓ ณ . พัทธสีมาวัดบางหญ้าแพรกอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ นายลำเจียก พูดหวาน ก็ได้รับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ลำเจียก ธมฺมธีโร โดยมีนายหลง – นางทับ พ่วงเชย (โยมอา) เป็นเจ้าภาพจัดงานอุปสมบท มีพระบวรวิมุต วัดไพรชยนต์พลเสมเป็นพระอุปัชฌา พระครูสถิตธรรมคุณ (อาจารย์เผย) วัดบางหญ้าแพรก เป็นพระกรรมวาจา พระครูสุวรรณสมุทร (พระอาจารย์ทองหล่อ) วัดครุใน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ในขณะที่ท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดบางหญ้าแพรกนั้น ท่านได้ศึกษาพระปริยัติธรรมอย่างแน่วแน่ ปฏิบัติกิจวัตรของสงฆ์อย่างเคร่งครัดและยังมีความสามารถแสดงพระปาฏิโมกข์ได้อย่างแม่นยำภายในหนึ่งพรรษา พรรษาที่สองได้ย้ายไปจำพรรษาอยู่ที่วัดบางด้วน (นอก) ตำบลบางด้วน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ ท่านก็ยังได้ศึกษาหาความรู้จากครูบาอาจารย์ และปฏิบัติธรรมวินัยเรื่อยมาจนสิ้นพรรษา พอย่างเข้าพรรษาที่สาม ก็ได้ติดตามท่านพระอาจารย์หล่ำ สิริธมฺโม ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดไกสีห์น้อย ตำบลหัวหมาก อำเภอบางกะปิ กรุงเทพมหานคร ท่านได้จำพรรษาอยู่ที่วัดนี้ถึง ๓ พรรษา ในช่วงเวลานั้นเอง ท่านก็ได้เริ่มศึกษาเล่าเรียนอย่างจริงจัง ด้วยความมานะบากบั่น ดังที่ได้ตั้งปฎิทานไว้ในใจ ท่านได้ศึกษา หนังสือขอมโบราณ วิชาอาคมต่างๆ ตำรายาแผนโบราณ วิปัสสนากรรมฐาน และวิชาโหราศาสตร์(บางแขนง) ท่านมีความสามารถในการเรียนรู้อย่างรวดเร็วและเข้มขลัง ท่านได้ออกธุดงควัตรปฏิบัติวิเวก ติดตามพระอาจารย์ของท่านตลอดเวลามิได้ขาด จนกระทั่งต่อมา ในปี พ.ศ. ๒๕๐๘ ได้ย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่วัดใน (เดิม) สองวิหาร ตำบลปากน้ำ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ และพระอารามแห่งนี้ได้ส่งเสริมให้ พระอาจารย์ลำเจียก ธมฺมธีโร ได้เป็นพระนักพัฒนา และทำให้ที่พักสงฆ์คลองบางปิ้งในอดีตนั้นเจริญรุ่งเรื่องเป็นที่เชิดหน้าชูตาของพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย จนได้ยกฐานะเป็น “วัด” โดยสมบูรณ์

ในด้านการศึกษา ทางวัดได้เปิดสอนพระปริยัติธรรม เริ่มมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๐ นอกจากนี้ยังได้สนับสนุนการศึกษาของชาติ โดยให้ทางราชการสร้างโรงเรียนคลองบางปิ้งในวัดอีกด้วย

พระครูพิพิธพัฒนพิธาน หรือ พระอาจารย์นา ซึ่งเป็นดังหลักชัยของวัดบางปิ้ง และบรรดาลูกศิษย์ลูกหานั้น ท่านได้เริ่งอาพาท(ป่วย) ด้วยโรคอัมพาตและได้เข้ารับการรักษาพยาบาลจากโรงพยาบาลจนอาการดีขึ้นเกือบเป็นปกติ และได้บริหารงานพระศาสนาเรื่อยมาเป็นอย่างดียิ่ง จนกระทั่งท่านได้มีอาการกำเริบขึ้นอีก และได้ถึงแก่มรณะภาพด้วยโรคระบบประสาทล้มเหลว ณ โรงพยาบาลวชิระปราการ (โรงพยาบาลเปาโล เมโมเรียล สมุทรปราการ ในปัจจุบัน) ตำบลบางเมือง อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อ วันเสาร์ที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๗ เวลาประมาณ ๐๖.๐๐ น. สิริรวมอายุได้ ๕๘ ปี พรรษา๓๔

พระปิดตา

หากกล่าวถึงปิดตาสายวัดสะพานสูง โดยทั่วไปจะนึกถึงหลวงปู่เอี่ยม หลวงปู่กลิ่นและหลวงพ่อทองสุข แต่มักไม่ค่อยเอ่ยถึงพระปิดตาสองหลวงพ่อใยวัดสะพานสูง หลวงพ่อใยท่านสร้างพระปิดตาเนื้อผงแล้วทารักขนาดค่อนข้างใหญ่ สร้างออกมาไม่มากนัก ตามความเห็นแล้ว น้อยกว่าหลวงพ่อทองสุขอย่างแน่นอน


ชุดหลวงปู่ฯ
พระปิดตาเนื้อผงปี ๒๕๕๓

พระปิดตาเนื้อผงปี ๒๕๕๔

วันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2554

หลวงปู่จันทา ถาวโร

หลวงปู่จันทา เกิดเมื่อ วันเสาร์ ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2465 มีชื่อจริงว่า นาย จันทา ชัยนิด เป็นชาวร้อยเอ็ด ปัจจุบัน มีอายุ 90 ปี 11 วัน เป็นพระเกจิซื่อดัง สาย ปฎิธรรมสายธรรมยุตนิกาย ฉันอาหารในบาตรมื้อเช้าเพียงมื้อเดียว เป็นพระที่ยึดถือประฎิบัติธรรมที่ประชาชนศรัทธา และถือว่า เป็นพระที่บริสุทธิ์ ประพฤติดี ปฎิบัติชอบ ในสายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต และเป็นลูกศิษย์หลวงปู่ขาว อานาลโย วัดถ้ำกลองเพล จังหวัดหนองบัวลำภู หลังจากดูแลรับใช้หลวงปู่ขาวจนมรณภาพ เมื่อปี 2526 จึงได้เดินทางมาปฎิบัติธรรมที่วัดป่าเขาน้อย ตำบลวังทรายพูน อำเภอวังทรายพูน จังหวัดพิจิตร
หลวงปู่จันทา ถาวโร เจ้าวาสวัดป่าเขาน้อย มรณภาพด้วยอาการสงบ เมื่อเวลา ประมาณ 05.00 น. ของเช้าวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2555 ด้วยโรคชรา หลังลูกศิษย์และประชาชนทราบข่าวต่างเดินทางมากราบร่างหลวงปู่จำนวนมาก โดยทางวัดเขาน้อยจัดพิธีบรรจุสรีระสังขาร ของหลวงปู่ เวลา 16.00 น และจะรักษาสรีระสังขารไว้จนถึง วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ.2555

หมายกำหนดการ

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2555
เวลา 16.00 น.สรงน้ำสรีระสังขารหลวงปู่จันทา ถาวโร


ตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2555 ถึง วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ.2555
เวลา 07.00 น. พระบิณฑบาต
เวลา 19.00 น. สวดพระพุทธมนต์เย็น เทศน์


วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ.2555

เวลา 15.00 น. พระราชทานเพลิงสรีระสังขารองค์หลวงปู่จันทา ถาวโร เจ้าอาวาสวัดป่าเขาน้อย



วัตถุมงคลที่ระลึก