ชุดอาจารย์นา
พระผงพิมพ์สมเด็จลองพิมพ์
พระผงสมเด็จพิมพ์พระประธาน สร้างขึ้นเมือปี พ.ศ. ๒๕๑๒ มวลสารสำคัญ คือ ผงอิธเจ ปถมัง ตรีนิสิงเห ที่ท่านเป็นผู้เขียนและลบเอง ผสมกับข้าวสุก กล้วย พลอย และแร่ศักดิ์สิทธิ์ซึ่งท่านได้มาในช่วงรุกขมูลแถบจังหวัดจันทบุรี ท่านเล่าว่า ท่านเป็นผู้รวบรวมผสม ตำได้ประมาณค่อนหม้อข้าว และนำมาปลุกเสกก่อนนำไปกดพิมพ์ระโดยตัวท่านเอง ทำได้ประมาณ ๑๐๐ กว่าองค์ พิมพ์ตื้นไม่คมชัด เนื้อหาของพระ มวลสารเข้มข้นแก่น้ำมันตังอิ๊ว สีออกเหลือง พระชุดนี้ถูกเก็บลืมไว้ในกุฏิเป็นเวลา ๑๗ ปี นำมาให้บูชาอีกครั้งเมื่อปี ๒๕๒๙
สร้างปี ๒๕๑๒ เป็นพระปิดตาเนื้อผงผงพุทธคุณทั้ง ๕ และผงโสฬสที่ท่านลบผง ตำผง และพิมพ์เองด้วย ท่านนำเนื้อที่เหลือจากการกดพิมพ์พระพิมพ์สมเด็จมาผสมแป้งดินสอพองเสกกดเป็นพิมพ์พระปิดตา มวลสารเกาะตัวกันพอสมควร เนื้อออกฟู ไม่แข็งแกร่ง แห้งยุบตัวตามอายุ พระฯชุดนี้มี ๒ พิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่ และเล็ก
พระสมเด็จปรกโพธิ์ ปี๒๕๓๖
ด้านหลังเป็นรูปเหมือนครึ่งองค์
วันพุธที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2554
วันอาทิตย์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2554
ประวัติพระครูพิพิธพัฒนพิธาน (นา)
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ตรงกับขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน๕ ปีชวด ณ บ้านเลขที่ ๒๑ หมู่ ๑๖ ตำบลบางหญ้าแพรก อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งมีนายกระจ่าง นางละม่อม พูดหวาน เป็นผู้ให้กำเนิด เด็กชายลำเจียก พูดหวาน ขึ้นมาเป็นบุตรคนหัวปี และยังมีน้องร่วมสายโลหิตอีก ๑ คน ครั้นต่อมาด้วยมรสุมชีวิตทำให้เด็กชายลำเจียก พูดหวาน ต้องประสบกับชะตากรรมกลายเป็นเด็กที่ต้องกำพร้าบิดามารดาตั้งแต่อายุได้เพียง ๓ ขวบเท่านั้น ชีวิตก็ยังไม่สิ้นเสียทีเดียว พระครูสถิตธรรมคุณ(อาจารย์เผย) เจ้าอาวาสวัดบางหญ้าแพรก ได้ให้ความเมตตาอุปการะไว้เมื่ออายุได้ ๖ ขวบ ให้การศึกษาที่โรงเรียนวัดบางหญ้าแพรกจนจบการศึกษาชั้นประถมปีที่ ๔ และเมื่ออายุได้ ๑๕ ปี ท่านก็บรรพชาให้เป็นสามเณร ได้ร่ำเรียนรู้ปริยัติธรรม จนสอบนักธรรมตรีได้ และสนใจศึกษาหนังสือขอมโบราณจนอ่านออกเขียนได้ในชั้นต้นเป็นอย่างดี อยู่ต่อมาทางเดินของชีวิตก็เปลี่ยนไปจนจำต้องลาสิกขาออกมาเพื่อประกอบสัมมาอาชีพ ทำสวนเลี้ยงชีพอยู่ ๒ ปี แล้วก็ได้โยกย้ายไปอยู่จังหวัดฉะเชิงเทราอีกเป็นเวลานาน ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ นั้นเอง วาระการรับใช้ชาติก็มาถึง พลฯ ลำเจียก พูดหวาน จึงได้เข้าประจำการกองทัพเรือจนสิ้นสุดหน้าที่ก็ปลดประจำการออกมาดำเนินชีวิตผจญกับความวุ่นวายมากมาย จนอายุได้ ๒๔ ปี ก็เบื่อชีวิตในทางโลก จึงตัดสินใจ เข้าพึ่งทางรสพระธรรมหวังยึดเอาคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นเครื่องดับทุกข์ตลอดไป
เมื่อวันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๓ ณ . พัทธสีมาวัดบางหญ้าแพรกอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ นายลำเจียก พูดหวาน ก็ได้รับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ลำเจียก ธมฺมธีโร โดยมีนายหลง – นางทับ พ่วงเชย (โยมอา) เป็นเจ้าภาพจัดงานอุปสมบท มีพระบวรวิมุต วัดไพรชยนต์พลเสมเป็นพระอุปัชฌา พระครูสถิตธรรมคุณ (อาจารย์เผย) วัดบางหญ้าแพรก เป็นพระกรรมวาจา พระครูสุวรรณสมุทร (พระอาจารย์ทองหล่อ) วัดครุใน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ในขณะที่ท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดบางหญ้าแพรกนั้น ท่านได้ศึกษาพระปริยัติธรรมอย่างแน่วแน่ ปฏิบัติกิจวัตรของสงฆ์อย่างเคร่งครัดและยังมีความสามารถแสดงพระปาฏิโมกข์ได้อย่างแม่นยำภายในหนึ่งพรรษา พรรษาที่สองได้ย้ายไปจำพรรษาอยู่ที่วัดบางด้วน (นอก) ตำบลบางด้วน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ ท่านก็ยังได้ศึกษาหาความรู้จากครูบาอาจารย์ และปฏิบัติธรรมวินัยเรื่อยมาจนสิ้นพรรษา พอย่างเข้าพรรษาที่สาม ก็ได้ติดตามท่านพระอาจารย์หล่ำ สิริธมฺโม ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดไกสีห์น้อย ตำบลหัวหมาก อำเภอบางกะปิ กรุงเทพมหานคร ท่านได้จำพรรษาอยู่ที่วัดนี้ถึง ๓ พรรษา ในช่วงเวลานั้นเอง ท่านก็ได้เริ่มศึกษาเล่าเรียนอย่างจริงจัง ด้วยความมานะบากบั่น ดังที่ได้ตั้งปฎิทานไว้ในใจ ท่านได้ศึกษา หนังสือขอมโบราณ วิชาอาคมต่างๆ ตำรายาแผนโบราณ วิปัสสนากรรมฐาน และวิชาโหราศาสตร์(บางแขนง) ท่านมีความสามารถในการเรียนรู้อย่างรวดเร็วและเข้มขลัง ท่านได้ออกธุดงควัตรปฏิบัติวิเวก ติดตามพระอาจารย์ของท่านตลอดเวลามิได้ขาด จนกระทั่งต่อมา ในปี พ.ศ. ๒๕๐๘ ได้ย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่วัดใน (เดิม) สองวิหาร ตำบลปากน้ำ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ และพระอารามแห่งนี้ได้ส่งเสริมให้ พระอาจารย์ลำเจียก ธมฺมธีโร ได้เป็นพระนักพัฒนา และทำให้ที่พักสงฆ์คลองบางปิ้งในอดีตนั้นเจริญรุ่งเรื่องเป็นที่เชิดหน้าชูตาของพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย จนได้ยกฐานะเป็น “วัด” โดยสมบูรณ์
ในด้านการศึกษา ทางวัดได้เปิดสอนพระปริยัติธรรม เริ่มมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๐ นอกจากนี้ยังได้สนับสนุนการศึกษาของชาติ โดยให้ทางราชการสร้างโรงเรียนคลองบางปิ้งในวัดอีกด้วย
พระครูพิพิธพัฒนพิธาน หรือ พระอาจารย์นา ซึ่งเป็นดังหลักชัยของวัดบางปิ้ง และบรรดาลูกศิษย์ลูกหานั้น ท่านได้เริ่งอาพาท(ป่วย) ด้วยโรคอัมพาตและได้เข้ารับการรักษาพยาบาลจากโรงพยาบาลจนอาการดีขึ้นเกือบเป็นปกติ และได้บริหารงานพระศาสนาเรื่อยมาเป็นอย่างดียิ่ง จนกระทั่งท่านได้มีอาการกำเริบขึ้นอีก และได้ถึงแก่มรณะภาพด้วยโรคระบบประสาทล้มเหลว ณ โรงพยาบาลวชิระปราการ (โรงพยาบาลเปาโล เมโมเรียล สมุทรปราการ ในปัจจุบัน) ตำบลบางเมือง อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อ วันเสาร์ที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๗ เวลาประมาณ ๐๖.๐๐ น. สิริรวมอายุได้ ๕๘ ปี พรรษา๓๔
เมื่อวันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๓ ณ . พัทธสีมาวัดบางหญ้าแพรกอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ นายลำเจียก พูดหวาน ก็ได้รับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ลำเจียก ธมฺมธีโร โดยมีนายหลง – นางทับ พ่วงเชย (โยมอา) เป็นเจ้าภาพจัดงานอุปสมบท มีพระบวรวิมุต วัดไพรชยนต์พลเสมเป็นพระอุปัชฌา พระครูสถิตธรรมคุณ (อาจารย์เผย) วัดบางหญ้าแพรก เป็นพระกรรมวาจา พระครูสุวรรณสมุทร (พระอาจารย์ทองหล่อ) วัดครุใน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ในขณะที่ท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดบางหญ้าแพรกนั้น ท่านได้ศึกษาพระปริยัติธรรมอย่างแน่วแน่ ปฏิบัติกิจวัตรของสงฆ์อย่างเคร่งครัดและยังมีความสามารถแสดงพระปาฏิโมกข์ได้อย่างแม่นยำภายในหนึ่งพรรษา พรรษาที่สองได้ย้ายไปจำพรรษาอยู่ที่วัดบางด้วน (นอก) ตำบลบางด้วน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ ท่านก็ยังได้ศึกษาหาความรู้จากครูบาอาจารย์ และปฏิบัติธรรมวินัยเรื่อยมาจนสิ้นพรรษา พอย่างเข้าพรรษาที่สาม ก็ได้ติดตามท่านพระอาจารย์หล่ำ สิริธมฺโม ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดไกสีห์น้อย ตำบลหัวหมาก อำเภอบางกะปิ กรุงเทพมหานคร ท่านได้จำพรรษาอยู่ที่วัดนี้ถึง ๓ พรรษา ในช่วงเวลานั้นเอง ท่านก็ได้เริ่มศึกษาเล่าเรียนอย่างจริงจัง ด้วยความมานะบากบั่น ดังที่ได้ตั้งปฎิทานไว้ในใจ ท่านได้ศึกษา หนังสือขอมโบราณ วิชาอาคมต่างๆ ตำรายาแผนโบราณ วิปัสสนากรรมฐาน และวิชาโหราศาสตร์(บางแขนง) ท่านมีความสามารถในการเรียนรู้อย่างรวดเร็วและเข้มขลัง ท่านได้ออกธุดงควัตรปฏิบัติวิเวก ติดตามพระอาจารย์ของท่านตลอดเวลามิได้ขาด จนกระทั่งต่อมา ในปี พ.ศ. ๒๕๐๘ ได้ย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่วัดใน (เดิม) สองวิหาร ตำบลปากน้ำ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ และพระอารามแห่งนี้ได้ส่งเสริมให้ พระอาจารย์ลำเจียก ธมฺมธีโร ได้เป็นพระนักพัฒนา และทำให้ที่พักสงฆ์คลองบางปิ้งในอดีตนั้นเจริญรุ่งเรื่องเป็นที่เชิดหน้าชูตาของพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย จนได้ยกฐานะเป็น “วัด” โดยสมบูรณ์
ในด้านการศึกษา ทางวัดได้เปิดสอนพระปริยัติธรรม เริ่มมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๐ นอกจากนี้ยังได้สนับสนุนการศึกษาของชาติ โดยให้ทางราชการสร้างโรงเรียนคลองบางปิ้งในวัดอีกด้วย
พระครูพิพิธพัฒนพิธาน หรือ พระอาจารย์นา ซึ่งเป็นดังหลักชัยของวัดบางปิ้ง และบรรดาลูกศิษย์ลูกหานั้น ท่านได้เริ่งอาพาท(ป่วย) ด้วยโรคอัมพาตและได้เข้ารับการรักษาพยาบาลจากโรงพยาบาลจนอาการดีขึ้นเกือบเป็นปกติ และได้บริหารงานพระศาสนาเรื่อยมาเป็นอย่างดียิ่ง จนกระทั่งท่านได้มีอาการกำเริบขึ้นอีก และได้ถึงแก่มรณะภาพด้วยโรคระบบประสาทล้มเหลว ณ โรงพยาบาลวชิระปราการ (โรงพยาบาลเปาโล เมโมเรียล สมุทรปราการ ในปัจจุบัน) ตำบลบางเมือง อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อ วันเสาร์ที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๗ เวลาประมาณ ๐๖.๐๐ น. สิริรวมอายุได้ ๕๘ ปี พรรษา๓๔
พระปิดตา
หากกล่าวถึงปิดตาสายวัดสะพานสูง โดยทั่วไปจะนึกถึงหลวงปู่เอี่ยม หลวงปู่กลิ่นและหลวงพ่อทองสุข แต่มักไม่ค่อยเอ่ยถึงพระปิดตาสองหลวงพ่อใยวัดสะพานสูง หลวงพ่อใยท่านสร้างพระปิดตาเนื้อผงแล้วทารักขนาดค่อนข้างใหญ่ สร้างออกมาไม่มากนัก ตามความเห็นแล้ว น้อยกว่าหลวงพ่อทองสุขอย่างแน่นอน
ชุดหลวงปู่ฯ
พระปิดตาเนื้อผงปี ๒๕๕๓
พระปิดตาเนื้อผงปี ๒๕๕๔
ชุดหลวงปู่ฯ
พระปิดตาเนื้อผงปี ๒๕๕๓
พระปิดตาเนื้อผงปี ๒๕๕๔
วันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2554
หลวงปู่จันทา ถาวโร
หลวงปู่จันทา เกิดเมื่อ วันเสาร์ ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2465 มีชื่อจริงว่า นาย จันทา ชัยนิด เป็นชาวร้อยเอ็ด ปัจจุบัน มีอายุ 90 ปี 11 วัน เป็นพระเกจิซื่อดัง สาย ปฎิธรรมสายธรรมยุตนิกาย ฉันอาหารในบาตรมื้อเช้าเพียงมื้อเดียว เป็นพระที่ยึดถือประฎิบัติธรรมที่ประชาชนศรัทธา และถือว่า เป็นพระที่บริสุทธิ์ ประพฤติดี ปฎิบัติชอบ ในสายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต และเป็นลูกศิษย์หลวงปู่ขาว อานาลโย วัดถ้ำกลองเพล จังหวัดหนองบัวลำภู หลังจากดูแลรับใช้หลวงปู่ขาวจนมรณภาพ เมื่อปี 2526 จึงได้เดินทางมาปฎิบัติธรรมที่วัดป่าเขาน้อย ตำบลวังทรายพูน อำเภอวังทรายพูน จังหวัดพิจิตร
หลวงปู่จันทา ถาวโร เจ้าวาสวัดป่าเขาน้อย มรณภาพด้วยอาการสงบ เมื่อเวลา ประมาณ 05.00 น. ของเช้าวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2555 ด้วยโรคชรา หลังลูกศิษย์และประชาชนทราบข่าวต่างเดินทางมากราบร่างหลวงปู่จำนวนมาก โดยทางวัดเขาน้อยจัดพิธีบรรจุสรีระสังขาร ของหลวงปู่ เวลา 16.00 น และจะรักษาสรีระสังขารไว้จนถึง วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ.2555
หลวงปู่จันทา ถาวโร เจ้าวาสวัดป่าเขาน้อย มรณภาพด้วยอาการสงบ เมื่อเวลา ประมาณ 05.00 น. ของเช้าวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2555 ด้วยโรคชรา หลังลูกศิษย์และประชาชนทราบข่าวต่างเดินทางมากราบร่างหลวงปู่จำนวนมาก โดยทางวัดเขาน้อยจัดพิธีบรรจุสรีระสังขาร ของหลวงปู่ เวลา 16.00 น และจะรักษาสรีระสังขารไว้จนถึง วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ.2555
หมายกำหนดการ
วันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2555
เวลา 16.00 น.สรงน้ำสรีระสังขารหลวงปู่จันทา ถาวโร
เวลา 16.00 น.สรงน้ำสรีระสังขารหลวงปู่จันทา ถาวโร
ตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2555 ถึง วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ.2555
เวลา 07.00 น. พระบิณฑบาต
เวลา 19.00 น. สวดพระพุทธมนต์เย็น เทศน์
เวลา 07.00 น. พระบิณฑบาต
เวลา 19.00 น. สวดพระพุทธมนต์เย็น เทศน์
วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ.2555
เวลา 15.00 น. พระราชทานเพลิงสรีระสังขารองค์หลวงปู่จันทา ถาวโร เจ้าอาวาสวัดป่าเขาน้อย
วัตถุมงคลที่ระลึก
วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
เอนไซม์
เอนไซม์ที่ได้จะมีลักษณะและองค์ประกอบดังนี้
1. มี มีความเป็นกรด-ด่างที่ระดับ pH = 4.72. มี ซึ่งพืชสามารถดูดซึมได้เร็ว3. มี ซึ่งทำให้มีปริมาณออกซิเจนมากพอต่อการป้องกันโรคและแมลงศัตรูพืช4. มี (Nitrogen2N) เป็นสารอาหารสร้างความเจริญเติบโตโครงสร้างลำต้นพืช (Phosphorus/P) เป็นสารอาหารสร้างความเจริญเติบโตของโครงสร้างราก การออกดอก และการติดผล , สำหรับ (Potassium/Kalium(K)) เป็นสารอาหารสร้างความเจริญเติบโตต่อโครงสร้างของเซลล์พืชและให้ผลตลอดจนความหวาน ของผลไม้ทำให้โครงสร้างของต้นพืชมีความแข็งแรง ให้ผลผลิตสูงและทำให้ต้นไม้มีภูมิคุ้มกันต่อการถูกทำลายของเชื้อโรคและแมลงศัตรูพืช
ขั้นตอนการผลิตเอนไซม์สำหรับคนขั้นตอนในการหมักเอนไซม์สำหรับคนนั้น เราจะใช้ผลไม้ที่มีอยู่มากมายในประเทศซึ่งมีตลอดทั้งปี เราจะปฏิบัติดังนี้1. จัดเตรียมอุปกรณ์ ซึ่งประกอบไปด้วย น้ำผึ้ง, ผลไม้ที่ต้องการ, น้ำสะอาด, ถ้วยตวง และภาชนะที่มีฝาปิดสนิท2. นำผลไม้มาทำความสะอาด แล้วนำใส่ภาชนะในอัตราส่วนผลไม้ 3 ส่วน , ตามด้วยน้ำผึ้ง 1 ส่วน และน้ำ 10 ส่วน โดยเหลือพื้นที่ของขวดหนึ่งในห้าส่วน เพื่อให้มีพื้นที่ในการหมุนเวียนอากาศในขวด3. ปิดฝาแล้วทำประวัติติดข้างภาชนะดังนี้ - ชนิดของผลไม้ - วัน / เดือน / ปี ที่ผลิต แล้วนำเก็บในห้องที่มีอากาศถ่ายเทและมีแสงแดดส่องน้อยที่สุด เก็บนาน 3 เดือนหมั่นเปิดจุกคลายอากาศออกแล้วปิดทันที ในช่วงอาทิตย์แรก4. เมื่อได้ระยะเวลา 3 เดือนแล้วเกิดน้ำใสลอยตัว ให้ดูดออกด้วยสายยาง แล้วนำมาขยายต่ออีกทุกๆ 3 เดือน เป็นเวลา 3 ปีในอัตราส่วน น้ำใส 1 ส่วน ต่อน้ำผึ้ง 1 ส่วน ต่อน้ำ 10 ส่วน
ขั้นตอนการขยายหัวเชื้อเอนไซม์สำหรับคน ในการขยายหัวเชื้อเอนไซม์สำหรับคนนั้น เอนไซม์ที่ใช้ควรมีอายุการหมักที่นานๆ ประมาณ 1 ปีขึ้นไป เมื่อขยายแล้วประสิทธิภาพของเอนไซม์จะไม่ลดลง แต่จะเป็นการขยายปริมาณให้มากขึ้นและประหยัดเวลาในการหมักมากขึ้น มีขั้นตอนดังนี้1. นำหัวเชื้อเอนไซม์สำหรับคน 1 ส่วน ต่อน้ำผึ้ง 1 ส่วน และน้ำ 10 ส่วน นำมาผสมใส่ในภาชนะ (ถ้าใช้น้ำผึ้งที่มีความชื้น 20% สามารถทานได้ แต่ถ้าเราใช้น้ำผึ้งธรรมดาจะต้องหมักไว้ 3 เดือน จึงจะนำมาทานได้)2. ถ้าเราไม่ทาน ถ้าครบ 3 เดือน เราสามารถนำมาขยายในอัตราส่วนเท่าเดิมอีกได้ คือ ปริมาณของเอนไซม์ก็จะเพิ่มขึ้น ทำให้ประหยัดเวลาในการหมัก
ขั้นตอนการขยายเอนไซม์สำหรับพืชและสัตว์ การใช้เอนไซม์สำหรับเกษตรนั้นต้องใช้ในปริมาณจำนวนมากและค่อนข้างบ่อย การขยายปริมาณเอนไซม์จะทำให้ปริมาณในการใช้เพียงพอกับความต้องการ อีกทั้งจะประหยัดเวลา อุปกรณ์และพื้นที่ในการหมัก ขั้นตอนก็ไม่ยุ่งยาก มีดังนี้1. นำหัวเชื้อเอนไซม์อายุ 1 ปี อัตราส่วน 1 ส่วน ต่อน้ำตาลแดงหรือกากน้ำตาล 1 ส่วน ต่อน้ำ 10 ส่วน บรรจุลงในภาชนะ แล้วทำให้เข้ากันโดยการเขย่าหรือคน2. ถ้าหัวเชื้อที่มีอายุนานตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป เมื่อเรานำมาขยาย สามารถนำมาใช้ได้เลย แต่ถ้าต้องการเก็บไว้ให้นานขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้นก็ได้
ขั้นตอนการสลายพิษกากน้ำตาล การสลายพิษกากน้ำตาลหรือโมลาส เป็นการสลายคุณสมบัติส่วนประกอบบางตัวของกากน้ำตาล ซึ่งจะทำให้ดินเกิดการจับตัวแข็ง จนน้ำไม่สามารถซึมผ่านลงดินได้ และทำให้พืชไม่สามารถดูดซึมน้ำ อาหารและดินไม่สามารถคายความชื้น ทำให้พืชขาดน้ำหรือเป็นโรครากเน่า โรคโคนเน่า ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่ยังประสบปัญหาดังกล่าวส่วนผสม- กากน้ำตาลหรือโมลาส 1 กิโลกรัม- เอนไซม์สำหรับพืช ถ้าหมักด้วยผลไม้รสเปรี้ยวจะดี เช่น มะนาว , สับปะรด ที่มีอายุมากกว่า 6 เดือนขึ้นไป 1 ลิตร- น้ำ 1 ลิตรวิธีผสม- นำกากน้ำตาล เอนไซม์ และน้ำในอัตราส่วน 1 : 1 : 1 ผสมในภาชนะให้เข้ากัน- นำส่วนผสมที่ได้ใส่ภาชนะปิดฝาให้สนิท เก็บไว้ประมาณ 3 เดือน ขึ้นไป ยิ่งอายุการหมักนานยิ่งดี จนน้ำที่ได้มีลักษณะใสไม่ข้นเหมือนตอนแรกวิธีใช้- น้ำที่ได้ในขั้นตอนนี้เรียกว่า "ซูโครส" ใช้ผสมกับอินทรียวัตถุและน้ำแทนการใช้น้ำตาลแดงได้ ช่วยลดต้นทุนในการผลิตเอนไซม์ ในอัตราส่วน อินทรียวัตถุ 3 ส่วน ซูโครส 1 ส่วน และน้ำ 10 ส่วน- นำมาขยายเอนไซม์ ในอัตราส่วนน้ำเอนไซม์ 1 ส่วน ซูโครส 1 ส่วน และน้ำ 10 ส่วน การสลายพิษกากน้ำตาลหรือโมลาส มีความสำคัญต่อการใช้ทำเอนไซม์สำหรับการเกษตร ซึ่งผลของกากน้ำตาลจะเกิดขึ้นในช่วงระยะ 2-3 ปี หลังการใช้กากน้ำตาล ในระยะแรกต้นไม้จะเริ่มใบเล็กลง แก่น ผลของผลผลิตลดลงและมีขนาดเล็กลง ต้นไม้มีลักษณะคล้ายขาดน้ำ ไม่ว่าจะรดน้ำเพิ่มขึ้นก็ตาม ระยะต่อมาใบเหลืองและร่วง ต่อมาก็ยืนต้นตาย
การใช้เอนไซม์ตามลักษณะงานทางการเกษตร
การนำเอนไซม์ไปใช้ในการเกษตร ขณะนี้เกษตรกรของไทยเราเสียเปรียบเกษตรกรประเทศคู่แข่งด้านต้นทุนการผลิต เพราะผลิตผลของเราต่ำมาก และสาเหตุที่ผลผลิตต่ำเนื่องจากดินหมดปุ๋ยการขาดแคลนน้ำซึ่งเกิดจากการใช้สารเคมีในการเกษตรล้นเกิน จนมีการตกค้างอยู่ในดินและน้ำและหากว่าการเผยแพร่วิชาการด้านการเพาะปลูก การป้องกัน และการขจัดปัญหาศัตรูพืชแบบธรรมชาติ โดยไม่ใช้สารเคมีใดๆให้กับเกษตรกรได้ ทำให้ช่วยลดการสูญเสียให้กับเกษตรกรเรียนรู้ และนำไปปฏิบัติได้ ป็นการพึ่งพาตนเองและสามารถพัฒนาตนเองได้โดยไม่ต้องพึ่งพามาตรการของรัฐอย่างเดียว
การนำน้ำเอนไซม์พืชไปใช้ประโยชน์ทำปุ๋ยชีวภาพ (ปุ๋ยแห้ง)การเตรียมพื้นที่และอุปกรณ์- เตรียมพื้นที่ผสมปุ๋ย โดยใช้พื้นเรียบๆ (พื้นซีเมนต์จะดี)- ผ้ายางสำหรับปูพื้นกันปุ๋ยซึมลงดิน ในกรณีที่ไม่ได้ผสมบนพื้นปูนซีเมนต์- กระสอบป่านเก่าๆ สำหรับคลุมปุ๋ยที่ผสมแล้ว- ถังฝักบัวรดน้ำ- พลั่ว จอบส่วนผสม- เศษวัสดุจากพืช เช่น เปลือกมัน ฟาง เปลือกถั่ว แกลบเผา ผักตบ 10 ปี๊บ (อาจใช้อย่างเดียวหรือหลายอย่างผสมกัน โดยรวมแล้วให้ได้ปริมาณเท่ากับอัตราส่วนผสมที่กำหนด)- แกลบ 10 ปี๊บ- มูลสัตว์ 10 ปี๊บ- น้ำหมักพืช และน้ำตาลแดง อย่างละ 2-3 ช้อนแกง ต่อน้ำ 1 ถังฝักบัววิธีผสม - นำส่วนผสมแห้งทั้งหมดคลุกให้เข้ากันแล้วนำน้ำที่ผสมน้ำหมักพืชและน้ำตาลแดงหรือซูโครสให้ทั่วๆ- เพิ่มน้ำรดส่วนผสมปุ๋ยไปเรื่อยๆ (โยผสมน้ำหมักพืช และน้ำตาลแดงหรือซูโครส ตามสัดส่วนที่กำหนดในแต่ละถัง) พร้อมกับคลุกเพื่อให้น้ำซึมหมาดไปทั่วทั้งกองปุ๋ย- ตรวจสอบความชื้นของปุ๋ย โดยทดลองกำไว้ในมือ เมื่อปล่อยมือออก จะจับเป็นก้อนหลวมๆ พอแตะก้อนแล้วแตกเป็นใช้ได้- เกลี่ยกองปุ๋ยให้เสมอกัน ให้สูงจากพื้นพอประมาณ คลุมด้วยกระสอบป่านให้มิดชิด- ถ้าผสมปุ๋ยในช่วงเช้า ตอนเย็นให้ทดสอบดู โดยสอดมือเข้าไปในกองปุ๋ยจะร้อนมาก และ- ในวันรุ่งขึ้นจะเริ่มมีเส้นใยขาวๆ ปรากฏบนผิวกองปุ๋ย แสดงว่าจุลินทรีย์เริ่มทำงาน- ทิ้งไว้ 3 วัน แล้วเปิดกระสอบป่านออก คลุกกับปุ๋ยให้ทั่วอีกครั้งหนึ่ง แล้วปิดกระสอบไว้ตามเดิม- อีก 3-4 วันต่อมา ให้ทดสอบดูอีก ถ้าปุ๋ยมีความเย็น ถือว่าใช้ได้ ถ้ายังมีความร้อนอยู่ให้ทิ้งไว้ต่อไปอีกจนกว่าจะเย็น จึงสามารถนำไปใช้ได้ทำปุ๋ยคอกหมัก ปุ๋ยคอกจากมูลสัตว์ ถ้านำไปใช้โดยตรงจะเกิดโรคและแมลงต่อพืชจึงควรหมักเสียก่อน ส่วนผสม- มูลสัตว์ 1 ส่วน- แกลบเผา 1 ส่วน- น้ำเอนไซม์สำหรับพืชและน้ำเอนไซม์สำหรับคน อย่างละ 5-10 ช้อนโต๊ะ- น้ำ 10 ลิตรวิธีผสม- ผสมมูลสัตว์ แกลบเผา เข้าด้วยกัน- นำน้ำเอนไซม์และน้ำตาลแดงหรือซูโครสผสมในน้ำ รดกองปุ๋ยที่คลุกแล้วให้ทั่ว ให้มีความชื้นระดับเดียวกับการทำปุ๋ยชีวภาพ (ปุ๋ยแห้ง)- เกลี่ยกองปุ๋ยบนพื้นให้หนาพอประมาณ คลุมด้วยกระสอบป่าน ทิ้งไว้ 3-5 วัน โดยไม่ต้องกลับ เมื่อปุ๋ยเย็นลงนำไปใช้ได้
ทำยาขับไล่แมลง
สูตรนี้จะช่วยป้องกันและขับไล่แมลงศัตรูพืช พร้อมทั้งเสริมสร้างความต้านทาน เพื่อป้องกันและกำจัดโรคพืชบางชนิดด้วยส่วนผสม- น้ำเอนไซม์สำหรับคน 1 ขวด- น้ำเอนไซม์สำหรับพืช 1 ขวด- น้ำสะอาด 10 ขวดวิธีผสม- นำเอนไซม์สำหรับคนที่อายุมากกว่า 3 เดือน ผสมน้ำ 1 : 10 หรือ 1 : 100- ใส่น้ำหมักพืชลงไป คนให้เข้ากันดี- ปิดฝาให้สนิท หมักไว้ 90 วัน (ควรหมักในถังพลาสติกที่มีฝาปิดมิดชิด)- ระหว่างการหมัก (ช่วง 90 วันแรก) ให้เปิดฝาคนทุกวันเช้า-เย็น เพื่อไม่ให้เป็นตะกอนนอนก้น และเพื่อระบายก๊าซออก- ครบกำหนดให้นำไปใช้ได้ หัวเชื้อนี้สามารถเก็บได้นาน 3 เดือนขึ้นไป โดยต้องเปิดฝาระบายก๊าซออกเป็นครั้งคราววิธีใช้- นำหัวเชื้อยาขับไล่แมลงนี้ไปผสมกับน้ำ ในอัตราส่วน 5 ช้อนแกง กากน้ำตาล 5 ช้อนแกง ผสมกับน้ำ 10 ลิตร
การทำฮอร์โมนพืชส่วนผสม- กล้วยน้ำว้าสุก ฟักทองแก่จัด มะละกอสุก อย่างละ 1 กิโลกรัม- น้ำหมักพืช และกากน้ำตาล (สลายพิษแล้ว) อย่างละ 1 ช้อนแกง- น้ำสะอาด 5 ลิตรวิธีผสม1. สับกล้วย ฟักทองและมะละกอ (ทั้งเปลือกและเมล็ด) ให้สะอาด2. ผสมน้ำหมักพืช กากน้ำตาล (สลายพิษแล้ว) และน้ำสะอาดให้เข้ากัน3. นำส่วนผสม ข้อ 1. และข้อ 2. คลุกเข้ากันให้ดี4. บรรจุลงในถังปุ๋ย หมักไว้ในถังพลาสติก ปิดฝาหมักไว้ 3 เดือนขึ้นไปวิธีใช้- นำส่วนที่เป็นน้ำจากการหมัก ผสมกับน้ำในอัตราส่วน 1 ลิตร ต่อ 100 ลิตร ฉีดพ่น- ใช้ฉีดพ่นหรือรดต้นไม้ในช่วงติดดอก จะทำให้ติดผลดี- ส่วนที่เป็นไขมันเหลืองๆ ในถุงปุ๋ย ใช้ทากิ่งตอน กิ่งปักชำ กิ่งทาบ ฯลฯ ช่วยให้แตกรากดี
เร่งดอก เร่งรากวิธีผสม- ใช้หินฝุ่นคลุกใส่ 2 ช้อนโต๊ะ ต่อปุ๋ยชีวภาพและขี้เถ้าแกลบ 1 กก. ใช้เร่งดอก เร่งราก
การประยุกต์ใช้ในการเกษตร
นาข้าว
ในพื้นที่ 1 ไร่ ใส่ปุ๋ยชีวภาพ (ปุ๋ยแห้ง) 200 กิโลกรัม โดยแบ่งใส่เป็นระยะดังนี้
1. ไถพรวน- หว่านปุ๋ยชีวภาพ 100 กก. (ต่อ 1 ไร่) ให้ทั่ว- ผสมน้ำหมักพืช 2 ลิตร ซูโครส 2 ลิตร ในน้ำ 200 ลิตร ต่อพื้นที่ 1 ไร่- ฉีดพ่นให้ทั่วไถพรวน ทิ้งไว้ 15 วัน เพื่อให้จุลินทรีย์ในน้ำเอนไซม์พืชย่อยสลายวัชพืชและเร่งการงอกของเมล็ดข้าว- นำส่วนผสมไปฉีดพ่นต้นไม้ สัปดาห์ 1-2 ครั้ง หรือตามความจำเป็น (ใช้บ่อยๆ ได้โดยไม่เป็นอันตรายต่อพืชและคน) โดยฉีดพ่นในช่วงเย็น- พืชที่กำลังแตกใบอ่อน ให้ใช้อัตราส่วนที่เจือจาง- หัวเชื้อที่ผสมน้ำแล้ว หากใช้ร่วมกับพืชสมุนไพรต่างๆ เช่น สะเดา ข่า ตะไคร้หอม ยาสูบ โดยนำน้ำแช่สมุนไพร ใส่เพิ่มลงไปอีก 5 ช้อนแกง (ต่อน้ำ 10 ลิตร) จะทำให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
ยาขับไล่แมลงสูตรเข้มข้นวิธีผสมใช้ส่วนผสมและวิธีทำเหมือนสูตรธรรมดา แต่เพิ่มปริมาณน้ำเอนไซม์และควรมีอายุของเอนไซม์มากกว่า 1 ปีวิธีใช้- ใช้ฉีดพ่นปราบหนอนและแมลงศัตรูพืชที่ปราบยาก เช่น หนอนหลอดหอม หนอนชอนใบ ฯลฯ โดยใช้สัดส่วน หัวเชื้อสูตรเข้มข้น 1 แก้ว ต่อน้ำ 200 ลิตร (หรือมากน้อยกว่านี้แล้วแต่ความเหมาะสม)- ใช้กำจัดเห็บ หมัด ในสัตว์เลี้ยง - ใช้กำจัดเหา ดดยเอาน้ำราดผมให้เปียก แล้วชโลมด้วยหัวเชื้อสูตรเข้มข้นผสมน้ำในอัตราส่วน 1 ต่อ 50 หมักทิ้งไว้ 30 นาที แล้วล้างออกให้สะอาด- หลังจากไถพรวนแล้ว 15 วัน ให้ฉีดพ่นน้ำผสมน้ำเอนไซม์พืชและซูโครส ในอัตราส่วนเท่าเดิมอีกครั้งหนึ่ง แล้วไถกลบ เพื่อทำลายวัชพืชให้เป็นปุ๋ยพืชสด- ทิ้งไว้อีก 15 วัน แล้วจึงไถและคราด เพื่อดำนาต่อไป
2. ไถคราด- พ่นน้ำเอนไซม์พืชผสมซูโครส และน้ำในอัตราส่วนเท่าเดิมอีกครั้งหนึ่ง- ไถคราดให้ทั่ว เพื่อเตรียมปักดำ
3. หลังปักดำ 7-15 วัน- หว่านปุ๋ยชีวภาพ 30 กก. ต่อ ไร่ - ฉีดพ่นด้วยน้ำผสมน้ำเอนไซม์พืช ในอัตราส่วนน้ำ 200 ลิตร ต่อน้ำเอนไซม์พืช และซูโครสอย่างละ 2 ลิตร
4. ข้าวอายุ 1 เดือน- หว่านปุ๋ยชีวภาพ 30 กก. ต่อ ไร่- ฉีดพ่นด้วยน้ำผสมน้ำเอนไซม์พืช ในอัตราส่วนน้ำ 200 ลิตร ต่อน้ำเอนไซม์พืชและน้ำตาลแดงหรือซูโครส อย่างละ 2 ลิตร
5. ก่อนข้าวตั้งท้องเล็กน้อย- หว่านปุ๋ยชีวภาพ 40 กก. ต่อ ไร่- ฉีดพ่นด้วยน้ำผสมน้ำเอนไซม์พืช ในอัตราส่วน น้ำ 200 ลิตร ต่อน้ำเอนไซม์พืช และน้ำตาลแดงหรือซูโครสอย่างละ 2 ลิตร
6. การป้องกันศัตรูพืช- ใช้หัวเชื้อยาขับไล่แมลงผสมกับน้ำฉีดพ่นทุก 15 วัน โดยฉีดพ่นในช่วงเช้ามืด หรือช่วงเย็น
หมายเหตุ ต่อพื้นที่ 1 ไร่ จะใช้ปุ๋ยชีวภาพเฉลี่ย 200 กิโลกรัม ในปีแรกที่ใช้ปุ๋ยชีวภาพอาจต้องใช้ปุ๋ยปริมาณมาก แต่เมื่อดินคืนสภาพสู่ความอุดทสมบูรณ์ดีแล้ว ปีต่อๆไปจะสามารถใช้ปุ๋ยในปริมาณน้อยลงเรื่อยๆ ส่วนปริมาณผลผลิตในปีแรกอาจจะไม่เพิ่มกว่าปกติ แต่ในช่วงปีต่อๆไปปริมาณผลผลิตจะเริ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ได้ประโยชน์ทั้งการลดต้นทุนค่าปุ๋ยและการเพิ่มปริมาณผลผลิต
ผักสวนครัว- โรยปุ๋ยชีวภาพ 1 กก. ต่อพื้นที่ 1ตารางเมตร เอาหญ้าหรือฟางแห้งคลุมทับ- รดด้วยน้ำผสมกับน้ำเอนไซม์พืช ต้องอายุมากกว่า 3 เดือน อัตรา 1 ลิตร ต่อน้ำ 10 ลิตร ลงมือปลูก- โรยปุ๋ยชีวภาพซ้ำรอบๆทรงพุ่ม (อย่าให้โดนใบหรือโคนต้น) เดือนละ 1-2 ครั้ง- รดน้ำผสมน้ำเอนไซม์พืช อัตราส่วน 2 ช้อนแกง ต่อน้ำ 1 ถังฝักบัว สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง- ใช้หัวเชื้อยาขับไล่แมลง ผสมน้ำฉีดพ่นเมื่อมีแมลงศัตรูพืชระบาด
ไม้ผลและไม้ยืนต้น- ใช้ปุ๋ยชีวภาพรองก้นหลุม โดยใช้ปุ๋ย 2 กำมือ คลุกกับดินก้นหลุมให้เข้ากัน รดด้วยน้ำผสมน้ำเอนไซม์พืช (น้ำเอนไซม์พืช 1 ช้อน ต่อน้ำ 10 ลิตร) เมื่อลงมือปลูก คลุมโคนต้นด้วยเศษใบไม้แห้ง- เมื่อต้นไม้ตั้งตัวได้แล้ว ให้พรวนดินและโรยปุ๋ยซ้ำรอบทรงพุ่มต้นละ 2 กก. ต่อปี โดยใส่ครั้งเดียวหรือแบ่งใส่ก็ได้ พร้อมกับรดด้วยน้ำผสมน้ำเอนไซม์พืชเป็นระยะๆการแก้ปัญหาวัชพืชโดยไม่ใช้สารเคมี สำหรับการทำนาข้าว และพืชไร่ หลังจากใช้น้ำเอนไซม์พืชและปุ๋ยชีวภาพแล้ว จะทำให้เมล็ดหญ้าที่พักตัวอยู่ เร่งงอกขึ้นมาทั้งหมด ทำให้เราสามารถกำจัดวัชพืชได้ทั้งหมดด้วยการไถพรวน เป็นการตัดวงจรชีวิตของวัชพืชไม่ให้งอกขึ้นมาอีกต่อไป
วิธีทำลายวัชพืช- ตัดหรือล้มวัชพืชต่างๆให้เกิดรอยช้ำ แล้วโรยปุ๋ยชีวภาพทับลงไป - ฉีดพ่นซ้ำ ด้วยน้ำผสมน้ำหมักพืชปริมาณเข้มข้น (น้ำ 1 ส่วนต่อน้ำเอนไซม์พืช 1 ส่วน) - ใช้วิธีนี้ก่อนการไถพื้นที่ เพื่อทำนาหรือทำไร่ ล่วงหน้าประมาณ 1 เดือน และหลังเก็บเกี่ยว ไม่นานักปัญหาวัชพืชจะหมดไป
หมายเหตุ น้ำเอนไซม์พืชที่ใช้ในกิจกรรมทางการเกษตรทุกประเภทจะต้องหมักเกิน 3 เดือนขึ้นไป
ดินร่วนซุย และปลูกได้โดยไม่ต้องไถพรวน ตามปกติดินจะจับแน่นเป็นก้อนแข็ง ทำให้ระบายน้ำไม่ดี น้ำจะไหลผ่านบนผิวหน้าดินส่วนการใช้ปุ๋ยเคมีจะยิ่งทำให้ดินจับตัวแข็งยิ่งขึ้น ส่วนการใช้ปุ๋ยคอกจากสัตว์ เป็นเพียงการทำให้ดินมีปุ๋ยมากขึ้น แต่ไม่ได้ปรับสภาพของโครงสร้างดินให้เหมาะสมสำหรับการเกษตร จากการทดลองในพื้นที่นาข้าวที่ใช้ปุ๋ยมูลไก่ติดต่อกันซ้ำถึง 5 ปี พบว่าข้าวจะออกใบมาก ส่วนรวงข้าวมีปริมาณเมล็ดข้าวน้อยลงและมีเมล็ดลีบมากกว่าเดิมแต่เมื่อเปลี่ยนมาใช้ปุ๋ยชีวภาพและน้ำเอนไซม์พืช เอนไซม์และส่วนผสมในปุ๋ย (โดยเฉพาะแกลบ) จะทำให้โครงสร้างดินเริ่มปรับตัวเกิดเป็นโพรงและมีช่องอากาศมากขึ้น ดินจึงร่วนซุยและอุ้มน้ำได้ดีขึ้น เมื่อใช้ไปนานๆดินจะค่อยๆคืนสภาพสู่ความ อุดมสมบูรณ์อีกครั้ง ในการทดลองบางพื้นที่ พบว่าเมื่อใช้ปุ๋ยชีวภาพ และน้ำหมักพืชติดต่อกัน 3 ปี สภาพดินจะยิ่งร่วนซุยจนไม่จำเป็นต้องไถพรวนอีกต่อไป
น้ำเอนไซม์พืชกับการปศุสัตว์การเลี้ยงสุกร ผสมน้ำเอนไซม์พืช 1 ลิตร (ควรมีอายุการหมักมากกว่า 1 ปี) น้ำตาลแดงหรือซูโครส 1 ลิตร น้ำสะอาด 100 ลิตรในภาชนะแล้วปิดฝาให้สนิท
วิธีใช้ทำ1. ทำความสะอาด- นำไปฉีดล้างให้ทั่วคอก จะกำจัดกลิ่นมูลเก่าและก๊าซแอมโมเนียได้ภายใน 24 ชม.- ทำซ้ำทุกสัปดาห์ น้ำล้างคอกนี้จะช่วยบำบัดน้ำเสียตามท่าและบ่อพักให้สะอาดขึ้นด้วย- ผสมน้ำเอนไซม์พื 1 ลิตร ต่อน้ำสะอาด 100 ลิตร ฉีดพ่นตามบ่อน้ำ เพื่อกำจัดหนอนแมลงวัน จะเห็นผลใน 1-2 สัปดาห์2. ผสมอาหาร- ผสมน้ำหมักพืช 1 ลิตร ต่อน้ำสะอาด 500-1,000 ลิตร (โดยประมาณ) ให้สุกรกินทุกวัน จะช่วยให้แข็งแรง มีความต้านทานโรค และป้องกันกลิ่นก๊าซแอมโมเนียจากมูลสุกรที่เกิดขึ้นใหม่ด้วย- ลูกสุกรที่มีอาการท้องเสีย ใช้น้ำเอนไซม์พืช (หัวเชื้อ) 5 ซีซี หยอดเข้าทางปาก จะรักษาอาการได้
หมายเหตุ กรณีเลี้ยงวัว ควาย ก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ โดยผสมน้ำเอนไซม์พืช น้ำตาลแดงหรือซูโครสกับน้ำ แล้วรดฟางหรือหัวอาหารให้กิน รวมทั้งใช้ผสมในน้ำให้กินทุกวัน
การเลี้ยงไก่ และสัตว์ปีกอื่นๆ- ใช้น้ำเอนไซม์พืชผสมน้ำสะอาดให้กินทุกวัน จะช่วยให้สัตว์แข็งแรง ไข่ดกและคลอเลตเตอรอล น้ำหนักดี อัตราการตายต่ำ มูลสัตว์ไม่มีกลิ่นเหม็นของมูลสัตว์และกลิ่นแอมโมเนีย- ใช้น้ำเอนไซม์พืชผสมน้ำ ฉีด พ่น ตามพื้น เพื่อกำจัดกลิ่นก๊าซแอมโมเนียและกลิ่นเหม็นจากมูล ทุกๆ 4 วัน และยังช่วยกำจัดการขยายพันธุ์ของแมลงวันทางอ้อมได้ด้วย
จากสภาพสังคมไทยในปัจจุบัน ความอยู่รอดของประเทศไทยในสังคมโลก หมายถึงความสามารถของประเทศที่จะต้องเลี้ยงตนเองได้ ช่วยตนเองได้ในด้านปัจจัยหลัก คือ อาหาร , ที่อยู่อาศัย , เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค
1. มี มีความเป็นกรด-ด่างที่ระดับ pH = 4.72. มี ซึ่งพืชสามารถดูดซึมได้เร็ว3. มี ซึ่งทำให้มีปริมาณออกซิเจนมากพอต่อการป้องกันโรคและแมลงศัตรูพืช4. มี (Nitrogen2N) เป็นสารอาหารสร้างความเจริญเติบโตโครงสร้างลำต้นพืช (Phosphorus/P) เป็นสารอาหารสร้างความเจริญเติบโตของโครงสร้างราก การออกดอก และการติดผล , สำหรับ (Potassium/Kalium(K)) เป็นสารอาหารสร้างความเจริญเติบโตต่อโครงสร้างของเซลล์พืชและให้ผลตลอดจนความหวาน ของผลไม้ทำให้โครงสร้างของต้นพืชมีความแข็งแรง ให้ผลผลิตสูงและทำให้ต้นไม้มีภูมิคุ้มกันต่อการถูกทำลายของเชื้อโรคและแมลงศัตรูพืช
ขั้นตอนการผลิตเอนไซม์สำหรับคนขั้นตอนในการหมักเอนไซม์สำหรับคนนั้น เราจะใช้ผลไม้ที่มีอยู่มากมายในประเทศซึ่งมีตลอดทั้งปี เราจะปฏิบัติดังนี้1. จัดเตรียมอุปกรณ์ ซึ่งประกอบไปด้วย น้ำผึ้ง, ผลไม้ที่ต้องการ, น้ำสะอาด, ถ้วยตวง และภาชนะที่มีฝาปิดสนิท2. นำผลไม้มาทำความสะอาด แล้วนำใส่ภาชนะในอัตราส่วนผลไม้ 3 ส่วน , ตามด้วยน้ำผึ้ง 1 ส่วน และน้ำ 10 ส่วน โดยเหลือพื้นที่ของขวดหนึ่งในห้าส่วน เพื่อให้มีพื้นที่ในการหมุนเวียนอากาศในขวด3. ปิดฝาแล้วทำประวัติติดข้างภาชนะดังนี้ - ชนิดของผลไม้ - วัน / เดือน / ปี ที่ผลิต แล้วนำเก็บในห้องที่มีอากาศถ่ายเทและมีแสงแดดส่องน้อยที่สุด เก็บนาน 3 เดือนหมั่นเปิดจุกคลายอากาศออกแล้วปิดทันที ในช่วงอาทิตย์แรก4. เมื่อได้ระยะเวลา 3 เดือนแล้วเกิดน้ำใสลอยตัว ให้ดูดออกด้วยสายยาง แล้วนำมาขยายต่ออีกทุกๆ 3 เดือน เป็นเวลา 3 ปีในอัตราส่วน น้ำใส 1 ส่วน ต่อน้ำผึ้ง 1 ส่วน ต่อน้ำ 10 ส่วน
ขั้นตอนการขยายหัวเชื้อเอนไซม์สำหรับคน ในการขยายหัวเชื้อเอนไซม์สำหรับคนนั้น เอนไซม์ที่ใช้ควรมีอายุการหมักที่นานๆ ประมาณ 1 ปีขึ้นไป เมื่อขยายแล้วประสิทธิภาพของเอนไซม์จะไม่ลดลง แต่จะเป็นการขยายปริมาณให้มากขึ้นและประหยัดเวลาในการหมักมากขึ้น มีขั้นตอนดังนี้1. นำหัวเชื้อเอนไซม์สำหรับคน 1 ส่วน ต่อน้ำผึ้ง 1 ส่วน และน้ำ 10 ส่วน นำมาผสมใส่ในภาชนะ (ถ้าใช้น้ำผึ้งที่มีความชื้น 20% สามารถทานได้ แต่ถ้าเราใช้น้ำผึ้งธรรมดาจะต้องหมักไว้ 3 เดือน จึงจะนำมาทานได้)2. ถ้าเราไม่ทาน ถ้าครบ 3 เดือน เราสามารถนำมาขยายในอัตราส่วนเท่าเดิมอีกได้ คือ ปริมาณของเอนไซม์ก็จะเพิ่มขึ้น ทำให้ประหยัดเวลาในการหมัก
ขั้นตอนการขยายเอนไซม์สำหรับพืชและสัตว์ การใช้เอนไซม์สำหรับเกษตรนั้นต้องใช้ในปริมาณจำนวนมากและค่อนข้างบ่อย การขยายปริมาณเอนไซม์จะทำให้ปริมาณในการใช้เพียงพอกับความต้องการ อีกทั้งจะประหยัดเวลา อุปกรณ์และพื้นที่ในการหมัก ขั้นตอนก็ไม่ยุ่งยาก มีดังนี้1. นำหัวเชื้อเอนไซม์อายุ 1 ปี อัตราส่วน 1 ส่วน ต่อน้ำตาลแดงหรือกากน้ำตาล 1 ส่วน ต่อน้ำ 10 ส่วน บรรจุลงในภาชนะ แล้วทำให้เข้ากันโดยการเขย่าหรือคน2. ถ้าหัวเชื้อที่มีอายุนานตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป เมื่อเรานำมาขยาย สามารถนำมาใช้ได้เลย แต่ถ้าต้องการเก็บไว้ให้นานขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้นก็ได้
ขั้นตอนการสลายพิษกากน้ำตาล การสลายพิษกากน้ำตาลหรือโมลาส เป็นการสลายคุณสมบัติส่วนประกอบบางตัวของกากน้ำตาล ซึ่งจะทำให้ดินเกิดการจับตัวแข็ง จนน้ำไม่สามารถซึมผ่านลงดินได้ และทำให้พืชไม่สามารถดูดซึมน้ำ อาหารและดินไม่สามารถคายความชื้น ทำให้พืชขาดน้ำหรือเป็นโรครากเน่า โรคโคนเน่า ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่ยังประสบปัญหาดังกล่าวส่วนผสม- กากน้ำตาลหรือโมลาส 1 กิโลกรัม- เอนไซม์สำหรับพืช ถ้าหมักด้วยผลไม้รสเปรี้ยวจะดี เช่น มะนาว , สับปะรด ที่มีอายุมากกว่า 6 เดือนขึ้นไป 1 ลิตร- น้ำ 1 ลิตรวิธีผสม- นำกากน้ำตาล เอนไซม์ และน้ำในอัตราส่วน 1 : 1 : 1 ผสมในภาชนะให้เข้ากัน- นำส่วนผสมที่ได้ใส่ภาชนะปิดฝาให้สนิท เก็บไว้ประมาณ 3 เดือน ขึ้นไป ยิ่งอายุการหมักนานยิ่งดี จนน้ำที่ได้มีลักษณะใสไม่ข้นเหมือนตอนแรกวิธีใช้- น้ำที่ได้ในขั้นตอนนี้เรียกว่า "ซูโครส" ใช้ผสมกับอินทรียวัตถุและน้ำแทนการใช้น้ำตาลแดงได้ ช่วยลดต้นทุนในการผลิตเอนไซม์ ในอัตราส่วน อินทรียวัตถุ 3 ส่วน ซูโครส 1 ส่วน และน้ำ 10 ส่วน- นำมาขยายเอนไซม์ ในอัตราส่วนน้ำเอนไซม์ 1 ส่วน ซูโครส 1 ส่วน และน้ำ 10 ส่วน การสลายพิษกากน้ำตาลหรือโมลาส มีความสำคัญต่อการใช้ทำเอนไซม์สำหรับการเกษตร ซึ่งผลของกากน้ำตาลจะเกิดขึ้นในช่วงระยะ 2-3 ปี หลังการใช้กากน้ำตาล ในระยะแรกต้นไม้จะเริ่มใบเล็กลง แก่น ผลของผลผลิตลดลงและมีขนาดเล็กลง ต้นไม้มีลักษณะคล้ายขาดน้ำ ไม่ว่าจะรดน้ำเพิ่มขึ้นก็ตาม ระยะต่อมาใบเหลืองและร่วง ต่อมาก็ยืนต้นตาย
การใช้เอนไซม์ตามลักษณะงานทางการเกษตร
การนำเอนไซม์ไปใช้ในการเกษตร ขณะนี้เกษตรกรของไทยเราเสียเปรียบเกษตรกรประเทศคู่แข่งด้านต้นทุนการผลิต เพราะผลิตผลของเราต่ำมาก และสาเหตุที่ผลผลิตต่ำเนื่องจากดินหมดปุ๋ยการขาดแคลนน้ำซึ่งเกิดจากการใช้สารเคมีในการเกษตรล้นเกิน จนมีการตกค้างอยู่ในดินและน้ำและหากว่าการเผยแพร่วิชาการด้านการเพาะปลูก การป้องกัน และการขจัดปัญหาศัตรูพืชแบบธรรมชาติ โดยไม่ใช้สารเคมีใดๆให้กับเกษตรกรได้ ทำให้ช่วยลดการสูญเสียให้กับเกษตรกรเรียนรู้ และนำไปปฏิบัติได้ ป็นการพึ่งพาตนเองและสามารถพัฒนาตนเองได้โดยไม่ต้องพึ่งพามาตรการของรัฐอย่างเดียว
การนำน้ำเอนไซม์พืชไปใช้ประโยชน์ทำปุ๋ยชีวภาพ (ปุ๋ยแห้ง)การเตรียมพื้นที่และอุปกรณ์- เตรียมพื้นที่ผสมปุ๋ย โดยใช้พื้นเรียบๆ (พื้นซีเมนต์จะดี)- ผ้ายางสำหรับปูพื้นกันปุ๋ยซึมลงดิน ในกรณีที่ไม่ได้ผสมบนพื้นปูนซีเมนต์- กระสอบป่านเก่าๆ สำหรับคลุมปุ๋ยที่ผสมแล้ว- ถังฝักบัวรดน้ำ- พลั่ว จอบส่วนผสม- เศษวัสดุจากพืช เช่น เปลือกมัน ฟาง เปลือกถั่ว แกลบเผา ผักตบ 10 ปี๊บ (อาจใช้อย่างเดียวหรือหลายอย่างผสมกัน โดยรวมแล้วให้ได้ปริมาณเท่ากับอัตราส่วนผสมที่กำหนด)- แกลบ 10 ปี๊บ- มูลสัตว์ 10 ปี๊บ- น้ำหมักพืช และน้ำตาลแดง อย่างละ 2-3 ช้อนแกง ต่อน้ำ 1 ถังฝักบัววิธีผสม - นำส่วนผสมแห้งทั้งหมดคลุกให้เข้ากันแล้วนำน้ำที่ผสมน้ำหมักพืชและน้ำตาลแดงหรือซูโครสให้ทั่วๆ- เพิ่มน้ำรดส่วนผสมปุ๋ยไปเรื่อยๆ (โยผสมน้ำหมักพืช และน้ำตาลแดงหรือซูโครส ตามสัดส่วนที่กำหนดในแต่ละถัง) พร้อมกับคลุกเพื่อให้น้ำซึมหมาดไปทั่วทั้งกองปุ๋ย- ตรวจสอบความชื้นของปุ๋ย โดยทดลองกำไว้ในมือ เมื่อปล่อยมือออก จะจับเป็นก้อนหลวมๆ พอแตะก้อนแล้วแตกเป็นใช้ได้- เกลี่ยกองปุ๋ยให้เสมอกัน ให้สูงจากพื้นพอประมาณ คลุมด้วยกระสอบป่านให้มิดชิด- ถ้าผสมปุ๋ยในช่วงเช้า ตอนเย็นให้ทดสอบดู โดยสอดมือเข้าไปในกองปุ๋ยจะร้อนมาก และ- ในวันรุ่งขึ้นจะเริ่มมีเส้นใยขาวๆ ปรากฏบนผิวกองปุ๋ย แสดงว่าจุลินทรีย์เริ่มทำงาน- ทิ้งไว้ 3 วัน แล้วเปิดกระสอบป่านออก คลุกกับปุ๋ยให้ทั่วอีกครั้งหนึ่ง แล้วปิดกระสอบไว้ตามเดิม- อีก 3-4 วันต่อมา ให้ทดสอบดูอีก ถ้าปุ๋ยมีความเย็น ถือว่าใช้ได้ ถ้ายังมีความร้อนอยู่ให้ทิ้งไว้ต่อไปอีกจนกว่าจะเย็น จึงสามารถนำไปใช้ได้ทำปุ๋ยคอกหมัก ปุ๋ยคอกจากมูลสัตว์ ถ้านำไปใช้โดยตรงจะเกิดโรคและแมลงต่อพืชจึงควรหมักเสียก่อน ส่วนผสม- มูลสัตว์ 1 ส่วน- แกลบเผา 1 ส่วน- น้ำเอนไซม์สำหรับพืชและน้ำเอนไซม์สำหรับคน อย่างละ 5-10 ช้อนโต๊ะ- น้ำ 10 ลิตรวิธีผสม- ผสมมูลสัตว์ แกลบเผา เข้าด้วยกัน- นำน้ำเอนไซม์และน้ำตาลแดงหรือซูโครสผสมในน้ำ รดกองปุ๋ยที่คลุกแล้วให้ทั่ว ให้มีความชื้นระดับเดียวกับการทำปุ๋ยชีวภาพ (ปุ๋ยแห้ง)- เกลี่ยกองปุ๋ยบนพื้นให้หนาพอประมาณ คลุมด้วยกระสอบป่าน ทิ้งไว้ 3-5 วัน โดยไม่ต้องกลับ เมื่อปุ๋ยเย็นลงนำไปใช้ได้
ทำยาขับไล่แมลง
สูตรนี้จะช่วยป้องกันและขับไล่แมลงศัตรูพืช พร้อมทั้งเสริมสร้างความต้านทาน เพื่อป้องกันและกำจัดโรคพืชบางชนิดด้วยส่วนผสม- น้ำเอนไซม์สำหรับคน 1 ขวด- น้ำเอนไซม์สำหรับพืช 1 ขวด- น้ำสะอาด 10 ขวดวิธีผสม- นำเอนไซม์สำหรับคนที่อายุมากกว่า 3 เดือน ผสมน้ำ 1 : 10 หรือ 1 : 100- ใส่น้ำหมักพืชลงไป คนให้เข้ากันดี- ปิดฝาให้สนิท หมักไว้ 90 วัน (ควรหมักในถังพลาสติกที่มีฝาปิดมิดชิด)- ระหว่างการหมัก (ช่วง 90 วันแรก) ให้เปิดฝาคนทุกวันเช้า-เย็น เพื่อไม่ให้เป็นตะกอนนอนก้น และเพื่อระบายก๊าซออก- ครบกำหนดให้นำไปใช้ได้ หัวเชื้อนี้สามารถเก็บได้นาน 3 เดือนขึ้นไป โดยต้องเปิดฝาระบายก๊าซออกเป็นครั้งคราววิธีใช้- นำหัวเชื้อยาขับไล่แมลงนี้ไปผสมกับน้ำ ในอัตราส่วน 5 ช้อนแกง กากน้ำตาล 5 ช้อนแกง ผสมกับน้ำ 10 ลิตร
การทำฮอร์โมนพืชส่วนผสม- กล้วยน้ำว้าสุก ฟักทองแก่จัด มะละกอสุก อย่างละ 1 กิโลกรัม- น้ำหมักพืช และกากน้ำตาล (สลายพิษแล้ว) อย่างละ 1 ช้อนแกง- น้ำสะอาด 5 ลิตรวิธีผสม1. สับกล้วย ฟักทองและมะละกอ (ทั้งเปลือกและเมล็ด) ให้สะอาด2. ผสมน้ำหมักพืช กากน้ำตาล (สลายพิษแล้ว) และน้ำสะอาดให้เข้ากัน3. นำส่วนผสม ข้อ 1. และข้อ 2. คลุกเข้ากันให้ดี4. บรรจุลงในถังปุ๋ย หมักไว้ในถังพลาสติก ปิดฝาหมักไว้ 3 เดือนขึ้นไปวิธีใช้- นำส่วนที่เป็นน้ำจากการหมัก ผสมกับน้ำในอัตราส่วน 1 ลิตร ต่อ 100 ลิตร ฉีดพ่น- ใช้ฉีดพ่นหรือรดต้นไม้ในช่วงติดดอก จะทำให้ติดผลดี- ส่วนที่เป็นไขมันเหลืองๆ ในถุงปุ๋ย ใช้ทากิ่งตอน กิ่งปักชำ กิ่งทาบ ฯลฯ ช่วยให้แตกรากดี
เร่งดอก เร่งรากวิธีผสม- ใช้หินฝุ่นคลุกใส่ 2 ช้อนโต๊ะ ต่อปุ๋ยชีวภาพและขี้เถ้าแกลบ 1 กก. ใช้เร่งดอก เร่งราก
การประยุกต์ใช้ในการเกษตร
นาข้าว
ในพื้นที่ 1 ไร่ ใส่ปุ๋ยชีวภาพ (ปุ๋ยแห้ง) 200 กิโลกรัม โดยแบ่งใส่เป็นระยะดังนี้
1. ไถพรวน- หว่านปุ๋ยชีวภาพ 100 กก. (ต่อ 1 ไร่) ให้ทั่ว- ผสมน้ำหมักพืช 2 ลิตร ซูโครส 2 ลิตร ในน้ำ 200 ลิตร ต่อพื้นที่ 1 ไร่- ฉีดพ่นให้ทั่วไถพรวน ทิ้งไว้ 15 วัน เพื่อให้จุลินทรีย์ในน้ำเอนไซม์พืชย่อยสลายวัชพืชและเร่งการงอกของเมล็ดข้าว- นำส่วนผสมไปฉีดพ่นต้นไม้ สัปดาห์ 1-2 ครั้ง หรือตามความจำเป็น (ใช้บ่อยๆ ได้โดยไม่เป็นอันตรายต่อพืชและคน) โดยฉีดพ่นในช่วงเย็น- พืชที่กำลังแตกใบอ่อน ให้ใช้อัตราส่วนที่เจือจาง- หัวเชื้อที่ผสมน้ำแล้ว หากใช้ร่วมกับพืชสมุนไพรต่างๆ เช่น สะเดา ข่า ตะไคร้หอม ยาสูบ โดยนำน้ำแช่สมุนไพร ใส่เพิ่มลงไปอีก 5 ช้อนแกง (ต่อน้ำ 10 ลิตร) จะทำให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
ยาขับไล่แมลงสูตรเข้มข้นวิธีผสมใช้ส่วนผสมและวิธีทำเหมือนสูตรธรรมดา แต่เพิ่มปริมาณน้ำเอนไซม์และควรมีอายุของเอนไซม์มากกว่า 1 ปีวิธีใช้- ใช้ฉีดพ่นปราบหนอนและแมลงศัตรูพืชที่ปราบยาก เช่น หนอนหลอดหอม หนอนชอนใบ ฯลฯ โดยใช้สัดส่วน หัวเชื้อสูตรเข้มข้น 1 แก้ว ต่อน้ำ 200 ลิตร (หรือมากน้อยกว่านี้แล้วแต่ความเหมาะสม)- ใช้กำจัดเห็บ หมัด ในสัตว์เลี้ยง - ใช้กำจัดเหา ดดยเอาน้ำราดผมให้เปียก แล้วชโลมด้วยหัวเชื้อสูตรเข้มข้นผสมน้ำในอัตราส่วน 1 ต่อ 50 หมักทิ้งไว้ 30 นาที แล้วล้างออกให้สะอาด- หลังจากไถพรวนแล้ว 15 วัน ให้ฉีดพ่นน้ำผสมน้ำเอนไซม์พืชและซูโครส ในอัตราส่วนเท่าเดิมอีกครั้งหนึ่ง แล้วไถกลบ เพื่อทำลายวัชพืชให้เป็นปุ๋ยพืชสด- ทิ้งไว้อีก 15 วัน แล้วจึงไถและคราด เพื่อดำนาต่อไป
2. ไถคราด- พ่นน้ำเอนไซม์พืชผสมซูโครส และน้ำในอัตราส่วนเท่าเดิมอีกครั้งหนึ่ง- ไถคราดให้ทั่ว เพื่อเตรียมปักดำ
3. หลังปักดำ 7-15 วัน- หว่านปุ๋ยชีวภาพ 30 กก. ต่อ ไร่ - ฉีดพ่นด้วยน้ำผสมน้ำเอนไซม์พืช ในอัตราส่วนน้ำ 200 ลิตร ต่อน้ำเอนไซม์พืช และซูโครสอย่างละ 2 ลิตร
4. ข้าวอายุ 1 เดือน- หว่านปุ๋ยชีวภาพ 30 กก. ต่อ ไร่- ฉีดพ่นด้วยน้ำผสมน้ำเอนไซม์พืช ในอัตราส่วนน้ำ 200 ลิตร ต่อน้ำเอนไซม์พืชและน้ำตาลแดงหรือซูโครส อย่างละ 2 ลิตร
5. ก่อนข้าวตั้งท้องเล็กน้อย- หว่านปุ๋ยชีวภาพ 40 กก. ต่อ ไร่- ฉีดพ่นด้วยน้ำผสมน้ำเอนไซม์พืช ในอัตราส่วน น้ำ 200 ลิตร ต่อน้ำเอนไซม์พืช และน้ำตาลแดงหรือซูโครสอย่างละ 2 ลิตร
6. การป้องกันศัตรูพืช- ใช้หัวเชื้อยาขับไล่แมลงผสมกับน้ำฉีดพ่นทุก 15 วัน โดยฉีดพ่นในช่วงเช้ามืด หรือช่วงเย็น
หมายเหตุ ต่อพื้นที่ 1 ไร่ จะใช้ปุ๋ยชีวภาพเฉลี่ย 200 กิโลกรัม ในปีแรกที่ใช้ปุ๋ยชีวภาพอาจต้องใช้ปุ๋ยปริมาณมาก แต่เมื่อดินคืนสภาพสู่ความอุดทสมบูรณ์ดีแล้ว ปีต่อๆไปจะสามารถใช้ปุ๋ยในปริมาณน้อยลงเรื่อยๆ ส่วนปริมาณผลผลิตในปีแรกอาจจะไม่เพิ่มกว่าปกติ แต่ในช่วงปีต่อๆไปปริมาณผลผลิตจะเริ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ได้ประโยชน์ทั้งการลดต้นทุนค่าปุ๋ยและการเพิ่มปริมาณผลผลิต
ผักสวนครัว- โรยปุ๋ยชีวภาพ 1 กก. ต่อพื้นที่ 1ตารางเมตร เอาหญ้าหรือฟางแห้งคลุมทับ- รดด้วยน้ำผสมกับน้ำเอนไซม์พืช ต้องอายุมากกว่า 3 เดือน อัตรา 1 ลิตร ต่อน้ำ 10 ลิตร ลงมือปลูก- โรยปุ๋ยชีวภาพซ้ำรอบๆทรงพุ่ม (อย่าให้โดนใบหรือโคนต้น) เดือนละ 1-2 ครั้ง- รดน้ำผสมน้ำเอนไซม์พืช อัตราส่วน 2 ช้อนแกง ต่อน้ำ 1 ถังฝักบัว สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง- ใช้หัวเชื้อยาขับไล่แมลง ผสมน้ำฉีดพ่นเมื่อมีแมลงศัตรูพืชระบาด
ไม้ผลและไม้ยืนต้น- ใช้ปุ๋ยชีวภาพรองก้นหลุม โดยใช้ปุ๋ย 2 กำมือ คลุกกับดินก้นหลุมให้เข้ากัน รดด้วยน้ำผสมน้ำเอนไซม์พืช (น้ำเอนไซม์พืช 1 ช้อน ต่อน้ำ 10 ลิตร) เมื่อลงมือปลูก คลุมโคนต้นด้วยเศษใบไม้แห้ง- เมื่อต้นไม้ตั้งตัวได้แล้ว ให้พรวนดินและโรยปุ๋ยซ้ำรอบทรงพุ่มต้นละ 2 กก. ต่อปี โดยใส่ครั้งเดียวหรือแบ่งใส่ก็ได้ พร้อมกับรดด้วยน้ำผสมน้ำเอนไซม์พืชเป็นระยะๆการแก้ปัญหาวัชพืชโดยไม่ใช้สารเคมี สำหรับการทำนาข้าว และพืชไร่ หลังจากใช้น้ำเอนไซม์พืชและปุ๋ยชีวภาพแล้ว จะทำให้เมล็ดหญ้าที่พักตัวอยู่ เร่งงอกขึ้นมาทั้งหมด ทำให้เราสามารถกำจัดวัชพืชได้ทั้งหมดด้วยการไถพรวน เป็นการตัดวงจรชีวิตของวัชพืชไม่ให้งอกขึ้นมาอีกต่อไป
วิธีทำลายวัชพืช- ตัดหรือล้มวัชพืชต่างๆให้เกิดรอยช้ำ แล้วโรยปุ๋ยชีวภาพทับลงไป - ฉีดพ่นซ้ำ ด้วยน้ำผสมน้ำหมักพืชปริมาณเข้มข้น (น้ำ 1 ส่วนต่อน้ำเอนไซม์พืช 1 ส่วน) - ใช้วิธีนี้ก่อนการไถพื้นที่ เพื่อทำนาหรือทำไร่ ล่วงหน้าประมาณ 1 เดือน และหลังเก็บเกี่ยว ไม่นานักปัญหาวัชพืชจะหมดไป
หมายเหตุ น้ำเอนไซม์พืชที่ใช้ในกิจกรรมทางการเกษตรทุกประเภทจะต้องหมักเกิน 3 เดือนขึ้นไป
ดินร่วนซุย และปลูกได้โดยไม่ต้องไถพรวน ตามปกติดินจะจับแน่นเป็นก้อนแข็ง ทำให้ระบายน้ำไม่ดี น้ำจะไหลผ่านบนผิวหน้าดินส่วนการใช้ปุ๋ยเคมีจะยิ่งทำให้ดินจับตัวแข็งยิ่งขึ้น ส่วนการใช้ปุ๋ยคอกจากสัตว์ เป็นเพียงการทำให้ดินมีปุ๋ยมากขึ้น แต่ไม่ได้ปรับสภาพของโครงสร้างดินให้เหมาะสมสำหรับการเกษตร จากการทดลองในพื้นที่นาข้าวที่ใช้ปุ๋ยมูลไก่ติดต่อกันซ้ำถึง 5 ปี พบว่าข้าวจะออกใบมาก ส่วนรวงข้าวมีปริมาณเมล็ดข้าวน้อยลงและมีเมล็ดลีบมากกว่าเดิมแต่เมื่อเปลี่ยนมาใช้ปุ๋ยชีวภาพและน้ำเอนไซม์พืช เอนไซม์และส่วนผสมในปุ๋ย (โดยเฉพาะแกลบ) จะทำให้โครงสร้างดินเริ่มปรับตัวเกิดเป็นโพรงและมีช่องอากาศมากขึ้น ดินจึงร่วนซุยและอุ้มน้ำได้ดีขึ้น เมื่อใช้ไปนานๆดินจะค่อยๆคืนสภาพสู่ความ อุดมสมบูรณ์อีกครั้ง ในการทดลองบางพื้นที่ พบว่าเมื่อใช้ปุ๋ยชีวภาพ และน้ำหมักพืชติดต่อกัน 3 ปี สภาพดินจะยิ่งร่วนซุยจนไม่จำเป็นต้องไถพรวนอีกต่อไป
น้ำเอนไซม์พืชกับการปศุสัตว์การเลี้ยงสุกร ผสมน้ำเอนไซม์พืช 1 ลิตร (ควรมีอายุการหมักมากกว่า 1 ปี) น้ำตาลแดงหรือซูโครส 1 ลิตร น้ำสะอาด 100 ลิตรในภาชนะแล้วปิดฝาให้สนิท
วิธีใช้ทำ1. ทำความสะอาด- นำไปฉีดล้างให้ทั่วคอก จะกำจัดกลิ่นมูลเก่าและก๊าซแอมโมเนียได้ภายใน 24 ชม.- ทำซ้ำทุกสัปดาห์ น้ำล้างคอกนี้จะช่วยบำบัดน้ำเสียตามท่าและบ่อพักให้สะอาดขึ้นด้วย- ผสมน้ำเอนไซม์พื 1 ลิตร ต่อน้ำสะอาด 100 ลิตร ฉีดพ่นตามบ่อน้ำ เพื่อกำจัดหนอนแมลงวัน จะเห็นผลใน 1-2 สัปดาห์2. ผสมอาหาร- ผสมน้ำหมักพืช 1 ลิตร ต่อน้ำสะอาด 500-1,000 ลิตร (โดยประมาณ) ให้สุกรกินทุกวัน จะช่วยให้แข็งแรง มีความต้านทานโรค และป้องกันกลิ่นก๊าซแอมโมเนียจากมูลสุกรที่เกิดขึ้นใหม่ด้วย- ลูกสุกรที่มีอาการท้องเสีย ใช้น้ำเอนไซม์พืช (หัวเชื้อ) 5 ซีซี หยอดเข้าทางปาก จะรักษาอาการได้
หมายเหตุ กรณีเลี้ยงวัว ควาย ก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ โดยผสมน้ำเอนไซม์พืช น้ำตาลแดงหรือซูโครสกับน้ำ แล้วรดฟางหรือหัวอาหารให้กิน รวมทั้งใช้ผสมในน้ำให้กินทุกวัน
การเลี้ยงไก่ และสัตว์ปีกอื่นๆ- ใช้น้ำเอนไซม์พืชผสมน้ำสะอาดให้กินทุกวัน จะช่วยให้สัตว์แข็งแรง ไข่ดกและคลอเลตเตอรอล น้ำหนักดี อัตราการตายต่ำ มูลสัตว์ไม่มีกลิ่นเหม็นของมูลสัตว์และกลิ่นแอมโมเนีย- ใช้น้ำเอนไซม์พืชผสมน้ำ ฉีด พ่น ตามพื้น เพื่อกำจัดกลิ่นก๊าซแอมโมเนียและกลิ่นเหม็นจากมูล ทุกๆ 4 วัน และยังช่วยกำจัดการขยายพันธุ์ของแมลงวันทางอ้อมได้ด้วย
จากสภาพสังคมไทยในปัจจุบัน ความอยู่รอดของประเทศไทยในสังคมโลก หมายถึงความสามารถของประเทศที่จะต้องเลี้ยงตนเองได้ ช่วยตนเองได้ในด้านปัจจัยหลัก คือ อาหาร , ที่อยู่อาศัย , เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)