จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอังคารที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2555

พระปิดตาเนื้อผงคลุกรัก

พระปิดตาเนื้อผงคลุกรัก

พระปิดตาฝังตะกรุดทองคำ

เพื่อเป็นการอนุรักษ์และทดแทนพระปิดตาผงคลุกรักของพระคณาจารย์รุ่นเก่าที่นับวันจะหายาก จึงได้นำผงที่ใช้ในการสร้างพระถวายองค์หลวงปู่จันทามาคลุกกับยางรักอย่างดีจนเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน แล้วนำมากดในแม่พิมพ์ประกับครึ่งซีกหน้าหลัง เมื่อถอดออกจากพิมพ์จะได้ลักษณะพิมพ์ลอยองค์ รูปทรงของพระปิดตาคลุกรักนี้ได้เค้าโครงจากพระปิดตาของหลวงปู่เอี่ยม วัดสพานสูง นนทบุรี

พระปิดตาชุดนี้ได้รวบรวม และแสวงหามวลสารนำมาสร้างเป็นองค์พระ มีผงว่านทางเมตตามหานิยม ผงพุทธคุณ
ผงพระปิดตาสายวัดสพานสูง
แผ่นทองคำเปลวปิดรูปหล่อหลวงปู่เอี่ยม
ผงพระสมเด็จบางขุนพรหม ๓๑
ผงสร้างพระกฐินปี ๕๐ วัดถ้ำเมืองนะ
ผงพระวัดปากน้ำ
เศษพระหักหลวงปู่บุดดา
ผงพระปิดตาอาจารย์นาวัดบางปิ้ง
หลวงพ่อแพ หลวงปู่หมุน
ผงกระเบื้องหลังคาหลวงพ่อเนียม วัดน้อย
ผงพระรุ่นเก่าๆ ของหลวงปู่จันทา ผงธูปดอกไม้บูชาพระ

ผงอธิษฐาน ปลุกเสก
หลวงพ่อดาบส
หลวงปู่คำพันธ์
หลวงพ่อพรหม

พระปิดตาคลุกรักสร้างออกมาด้วย ๓ วาระใหญ่ๆ คือ

๑. เสาร์ห้า

ฝังพระธาตุข้าวบิณฑ์ ข้าวก้นบาตร ๑๐ องค์
ประมาณ ๘๐๐ องค์
๒. ถวายพ่อแม่ครูบาอาจารย์สายกรรมฐาน
ประมาณ ๓๐๐ องค์
๓. แจกเป็นของขวัญให้กับลูกค้าของหมอชาวบ้าน หลังแบบพิมพ์ข้าวตอกแตก
จำนวน ๙๕ องค์

ฝังตะกรุดทองคำจำนวน ๙ องค์


พิมพ์ครึ่งซีก ล้อพิมพ์หลวงพ่อแก้ว

วันเสาร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เหรียญรุ่นแรก หลวงปู่บุญธรรม

หลวงปู่บุญธรรม อนุญาตให้สร้างเหรียญรุ่นแรก ในวันที่ 11 มิถุนายน 2555  จัดสร้างโดยคณะศิษย์



รูปลักษณ์เหรียญรุ่นแรกเนื้อทองคำ นวโลหะ ทองแดงรมดำและด้านหลังเหรียญตามลำดับ

วันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

วัดสามัคคิยาราม ปทุมธานี

พระครูธรรมวรญาน (หลวงปู่บุญธรรม ญาณวโร) วัดสามัคคิยาราม ปัจจุบัน อายุ ๙๑ ปี พระเถราจารย์อาวุโสเชื้อสายรามัญโดยกำเนิดแห่งเมืองปทุมธานี ผู้มีศีสาจารวัตรเรียบร้อย สมถะ ไม่สะสมเงินทอง อ่านเขียนพูดทอญ เรียนรู้วิชาสายมอญ ครั้งเป็นฆราวาสนุ่งขาว ห่มขาว ไม่เคยข้องเกี่ยวสตรีเพศเหมือนหนุ่มวัยรุ่นทั่วไป ไม่หยิบจับเงินและไม่เคยสะสมแม้แต่บาทเดียว เมื่อญาติโยมถวายปัจจัยมาท่านก็ไม่เคยแกะออกจากซองและไม่เคยเก็บ ปล่อยวางหรือเสียบไว้ตามที่ต่างๆอย่างนั้น

ทั้งนี้อาจเป็นเพราะอำนาจคุณงามความดีและคุณวิเศษในตัวของหลวงปู่ที่ได้ประกอบมาตั้งแต่ภพชาติที่แล้ว โดยโยมแม่ของท่านเชื่อว่า หลวงปู่บุญธรรมนั้น คือ หลวงพ่อสุดใจ (อดีตเจ้าอาวาสวัดสามัคคิธรรม) พระเกจิมอญผู้สยบปืนไฟของฝรั่งและเป็นสหธรรมิกรุ่นราวคราวเดียวกับหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า กลับชาติมาเกิด เนื่องจากโยมแม่ของท่านได้ฝันว่าหลวงพ่อสุดใจมาขออยู่ด้วยและได้ตอบรับท่านไป หลังจากนั้นก็ตั้งท้องหลวงปู่บุญธรรมขึ้นมา กระทั่งวันที่ทำการปลงศพหลวงพ่อสุดใจก็เป็นวันเดียวกับที่คลอดหลวงปู่บุญธรรมอีก




เป็นที่พึ่งและศูนย์รวมใจของชาวบ้านมาไม่น้อยกว่า ๕๐ ปี เมตตาอนุญาตสร้างเหรียญรูปเหมือนขึ้นครั้งแรก

วันศุกร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

พระสมเด็จเกศบัวตูม


พระสมเด็จเกศบัวตูม

พระสมเด็จทรงสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ฐานสามชั้น หูบายศรี พระเกศเกือบจรดซุ้ม พิธีเจริญพุทธมนต์เย็นในงานแสดงมุฑิตาจิต อายุ ๙๐ ปี วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ จัดเป็นพระสมเด็จรุ่นสุดท้ายของหลวงปู่จันทา
เนื้อหามวลสาร ผงหลวงพ่อเกษม, ผงพระปิดตาวัดหูแร่, แป้งหลวงปู่บุดดา, ผงพระหลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม, หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง, ทรายเสกหลวงปู่ทิมวัดพระขาว, ผงอธิษฐานผสมเกศา, ชานหมาก, และข้าวก้นบาตร หลวงปู่จันทา เป็นต้น

จำนวนการสร้างทั้งหมด ๑๐๓๔ องค์
ถวายหลวงปู่จันทา ๑๒๐ องค์
แจกเจ้าภาพโรงทานงานหลวงปู่ ๑๓๖ องค์
ถวายวัดบางปิ้ง สมุทรปราการ ๕๐๐ องค
แจกบูชากันในกลุ่มผู้สละปัจจัยสร้างถวาย ๒๗๘ องค์

พระปิดตาข้าวตอกแตก

หากกล่าวถึงพระปิดตาพิมพ์ข้าวตอกแตก หลายท่านจะนึกถึงพระปิดตาขนาดเล็กขององค์ปรมาจารย์  หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง ท่านสร้างจาดตะกั่วและดีบุกมาหลอมเข้าด้วยกัน แล้วรีดออกมาเป็นแผ่น  เพื่อให้ท่านลงจารยันต์บนแผ่นตะกั่วที่ถูกรีดแล้ว จากนั้นท่านจะให้นำไปหลอม และรีดออกมาเป็นแผ่นเช่นเดิม ท่านก็จะจารยันต์ในแผ่นตะกั่วซ้ำอีก ทำแบบนี้จนครบ 9 ครั้ง จึงค่อยนำตะกั่วที่ได้นั้นไปสร้างเป็นพระปิดตา วิธีการนี้เรียกว่าการลงถม เป็นของหายากราคาสูง

ต่อมาก็มีหลวงปู่โต๊ะ หลวงปู่ทิม ได้รับความนิยมสูงมาก

แต่ที่ผมจะกล่าวในวันนี้ เป็นพระปิดตาของหลวงปู่จันทาถาวโร

 
 
 
เนื้อผงคลุกรัก ใช้ดอกไม้ ผงธูปบูชาพระผสมกับว่าน สร้างได้ ๒๗ องค์ พระปิดตาชุดนี้ หลวงปู่เมตตาอนุญาตให้เก็บไว้บนกุฏิท่านตลอดพรรษาสุดท้ายก่อนมรณภาพ 

วันพุธที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2555

พระพุทธผมหวี

ก่อนพรรษาปี ๒๕๕๔ คณะศิษย์ร่วมสร้างพระพุทธผมหวี เพื่อถวายหลวงปู่จันทาเนื่องในวาระครบ ๙๐ ปี สร้างเสร็จแล้วนำไปไว้ที่กุฏิหลวงปู่จันทา ก่อนเข้าพรรษา ๒๕๕๔



พระพุทธเนื้อชนวน ๗๒ องค์
พระพุทธเนื้อผสมชนวน ๔๘ องค์
พระพุทธเนื้อเมฆพัด ๑๕ องค์
พระชัยวัฒน์ จำนวน ๗๖ องค์




แผ่นโลหะชนวน
๑. ดวงประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน
๒. แผ่นยันต์อธิษฐานปลุกเสกโดย หลวงปู่จันทา
-ปทุมจักร ๕
-ชฎาพรหม
-มงกุฎพระเจ้า
-สุกิติมา-ปทุมคงคา
-พระไตรสรณคมณ์ เสกโดยหลวงพ่อหวล หลวงพ่อเฉลิม
-โสฬสมหามงคล
-พุทธคุณ ๗ ดวง
-พระรัตนตรัย
-ฆเฏสิ
-นวโลกุตรธรรม
-เกราะเพชร
-แผ่นจารึกพระคาถาต่างของหลวงปู่

๓. ตรีนิสิงเห เสกโดยหลวงพ่อหวล หลวงพ่อเอียด

คุณฐิติ มอบเหรียญต่างๆ
-เหรียญหลวงปู่ทวด
-ชนวนรูปหล่อหลวงปู่หมุน
-เหรียญหลวงปู่ชอบ
-เหรียญหลวงปู่จันทา
-เหรียญ ตะกรุดหลวงปู่เจียม
-พระเนื้อชินชำรุด



คุณบรรณวัต ให้ชนวน
-รูปหล่อสมเด็จโต วัดพรหมรังสี
-หลวงปู่ขาววัดมกุฎ
-เหรียญยันต์โสฬสหลวงพ่อวาส
-เหรียญหลวงพ่อทรง
-เหรียญพระนเรศวร รุ่นสู้
-เหรียญหลวงพ่อคูณ
-พระชัยเก้ายอด วัดสุทัศน์
-ตะกรุดหลวงพ่อจืด
-ตะกรุดหลวงปู่หริ
-เนื้อขันลงหิน ๑ ก.ก.

วันพฤหัสบดีที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2555

งานฝังลูกนิมิต วัดศรีสโมสร

วัดศรีสโมสร ต.บึงบอน อ.หนองเสือ จ.ปทุมธานี คลอง ๗ เหนือ ถนนรังสิต – องครักษ์
วันพฤหัสบดี ที่ ๕ เมษายน ๒๕๕๕ เวลา ๑๓.๑๙ น.










วันอาทิตย์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2555

หลวงพ่ออุปัชฌาย์ไปล่ ฉนทสโร อดีต จ.อ. วัดกำแพง

วันอังคาร เดือน 6 ปีวอก พ.ศ.2403 เป็นคนบางบอนใต้ บางขุนเทียน ธนบุรี เกิดในสกุล ทองเหลือ เป็นบุตรของ นายเมฆ นางเหม ทองเหลืออุปสมบท อายุ 23 ปี ตรงกับ พ.ศ. 2426 ณ พัทธสีมาวัดกำแพง

หลวงพ่อไปล่ มีภูมิลำเนาอยู่ที่บ้านหมู่ที่ ๖ ตำบลบางบอนใต้อำเภอบางขุนเทียน จังหวัดธนบุรีท่านเกิดวันอังคาร เดือน ๖ ปีวอก พ.ศ. ๒๔๐๓ เป็นบุตรนายเหลือ นางทอง นามสกุล ทองเหลือ ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดาทั้งหมด ๕ คน หลวงปู่ไปล่เป็นคนที่ ๒ พี่น้องเป็น คหบดี อาชีพเกษตรกร เมื่ออายุ ๘ ขวบ ได้ไปศึกษาหนังสือไทยและขอมกับพระอาจารย์ทัตวัดสิงห์พออ่านออกเขียนได้ ก็ลาจากวัดมาช่วยผู้ปกครองประกอบอาชีพ ท่านเป็นคนมีร่างกายแข็งแรง ใจคอกล้าหาญ ทรหดอดทน กว้างขวางมีพรรคพวกเพื่อนฝูงมาก ยุคนั้นบ้านบาบอนใต้เป็นแดนนักเลงหัวไม้ มีทั้งชนไก่ กัดปลา ข้องอ้อย ฯลฯ เวลาวัดมีงานมักจะนัดตีกันเป็นประจำ สำหรับนายไปล่ พรรคพวกยกย่องให้เป็นลูกพี่ เหตุนี้ทำให้บิดามารดาวิตก เกรงว่าข้างหน้าอาจจะเสียคน เพราะคบเพื่อนไม่เลือกว่าคนดีคนพาล

พออายุ ๒๓ ปี ซึ่งเลยปีบวชมาแล้วบิดาจึงขอร้องให้บวชพระให้สัก ๑ พรรษา เมื่อบวชแล้ว ดวงชะตาของท่านจะเป็นอย่างไร ก็เป็นอันหมดห่วง ท่านก็ไม่ขัดโดยตกลงเข้าอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดกำแพง อำเภอบางขุนเทียน (โดยมีหลวงพ่อดิษฐ์วัดกก และหลวงพ่อทัต วัดสิงห์ หลวงพ่อคงเป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์พ่วง วัดกก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์ดิษฐ์ วัดกำแพง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้ฉายาว่า ฉนฺทสโร เมื่อบวชแล้วจำพรรษาอยู่วัดกำแพง ทำอุปัชฌายวัตรอาจาริยวัตรตามธรรมเนียมพระนวกะ ผู้บวชใหม่ และศึกษาพระธรรมวินัย ท่องบ่นสวดมนต์จนจบทุกยุคทุกคัมภีร์มีอุตสาหะจดจำได้แม่นยำ และเกิดเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา

ครบ ๑ พรรษาแล้วเลยไม่ยอมสึก โยมก็ไม่ว่ากระไรด้วยทีแรกตั้งใจว่าบวชแล้วจะขอภรรยาให้จะได้เป็นหลักฐาน เมื่อเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงไป ก็เป็นอันต้องระงับไป

พอพรรษาที่ ๒ ท่านก็พยายามจนท่องพระปาฎิโมกข์ได้ สวดได้ชัดเจนในครั้งนั้นมีการนิยมการเรียนทางกัมมัฏฐานวิปัสสนาธุระ ด้วยอุปัชฌายะและคู่สวดของท่านล้วนแต่เชี่ยวชาญวิชาทางนี้ ก็ได้ไปถ่ายทอดเอาวิชามาฝึกฝนทดลองจนใช้การได้ นอกจาอาจารย์ของท่านแล้ว ยังได้ไปขอเรียนวิชาไสยศาสตร์เวทมนต์จากพระอาจารย์คง (องค์นี้ทราบว่าเป็นอาจารย์รุกขมูลธุดงค์) จนมีวิชากล้าแข็ง จะได้อธิบายวิชาของท่าน เรื่องวิชาเมตตามหานิยมเช่น ผง ๑๐๘ ขี้ผึ้งสีปาก ได้เรียนจากพระอาจารย์พ่วง วัดกก อาจารย์ชื่อดัง ขนาดเอาขี้ผึ้งทาสัตว์เช่น ไก่ นก สุนัข แมว จะเดินตามไปอยู่ด้วยที่บ้านไม่ยอมกลับที่เดิม เป็นที่รู้กันทั่วทั้งบางขุนเทียน ส่วนพระอาจารย์ดิษฐเก่งในทางคงกระพันชาตรี ผ้าประเจียดแดงของท่านดังมาก มียันต์หนุมานหาวเป็นดาวเป็นเดือนที่เรียกว่าหนุมานแผลงฤทธิ์ ๔ กร ในเรื่องรามเกียรติ์เป็นอาจารย์สักลายมือสวยนัก สักทีแรกก็แทงเข้า พอสักไปสักครู่วิชาอาถรรพณ์เข้าตัวเหล็กสักไม่ได้กินหลัง แทงเท่าไรกระเด้งกลับ เลยต้องเลิกเพราะสักไม่เข้า ศิษย์ของท่านหนังดีทั้งนั้น วิชานี้หลวงพ่อไปล่เรียนมา ขนาดเอามีดโกนปาดง่ามมือเล่นก็ไม่เข้า เวลาแจกของท่านทำให้ดู พูดว่ามันต้องเหนียวถึงง่ามมือง่ามเท้าจึงจะเก่งจริง ส่วนมากนักเลงที่ว่าเหนียวพอโดนมือโดนเท้าก็เปราะทนไม่ไหว สำหรับพระอาจารย์ดิษฐท่านเป็นศิษย์ของท่านมาก่อนบวช เมื่อยังเป็นนักเลงใครก็รู้ว่าหนังดีจริงๆ จนไม่มีใครกล้าต่อกร เมื่อมาบวชแล้วก็เลิกเปลี่ยนเป็นคนละคนทีเดียว แต่คนทั้งพลายที่เคยเห็นฤทธิ์ ก็ยังเกรงอยู่ไม่กล้าทำแหยมกับท่าน

ส่วนพระอาจารย์คงซึ่งเป็นอาจารย์อีกองค์หนึ่งของท่าน ปรากฏว่า อยู่คงสมชื่อ วิชาผูกหุ่นพยนต์ก็เคยไปศึกษากับหลวงพ่อเก้ายอด วัดบางปลา สมุทรสาคร (ท่านองค์นี้กำบังกายหายตัวได้ กรมหลวงชุมพรเขตต์อุดมศักดิ์นับถือเป็นพระอาจารย์) ท่านได้เรียนกับอาจารย์เก่งๆ ดังกล่าว ส่งผลให้ท่านมีความรอบรู้ในสรรพวิชา แก่กล้าในพลังจิต แต่ไม่เคยโอ้อวด ท่านเป็นพระสมถะ ไม่ทะเยอทะยานในลาภยศ มีความเป็นอยู่อย่างง่ายๆ กวาดกุฏิเอง ของส่วนตัวทำเอง ไม่เคยใช้ให้ใครทำ ขยันในการทำวัตรสวดมนต์เคร่งครัดต่อพระธรรมวินัยชอบความมีระเบียบเรียบร้อย

หลวงพ่อไปล่มีกระแสจิตกล้าแข็ง คราวหนึ่งพระพุทธพยากรณ์ (เจริญ อุปวิกาโส) วัดอัปสร สวรรค์ (วัดหมู) ศิษย์เอกองค์หนึ่งของพระภาวนา โกศลเถร (หลวงปู่เอี่ยม) วัดหนัง ได้มานิมนต์ให้ไปนั่งปรกในงานหล่อพระ ท่านบอกว่าให้บอกเวลามาว่าพิธีจะเริ่มเมื่อไหร่ แล้วท่านก็นั่งทำสมาธิอยู่ที่กุฏิ โดยไม่ต้องเดินทางมาถึงวัด พอถึงเวลาปลุกเสก พระอาจารย์ที่นิมนต์มาจะเห็นร่างหลวงพ่อไปล่ปรากฏนั่งสมาธิอยู่ในพิธีด้วย เรื่องนี้เป็นที่โจษจันกันทั่วไป

ในช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพา ลูกศิษย์คนหนึ่งถูกเกณฑ์ไปร่วมรบได้มาขอของดีจากท่านเพื่อเอาไปคุ้มครองตัว ท่านได้เสกก้อนหินข้างทางรถไฟให้หนึ่งก้อน ศิษย์คนนั้นเห็นแล้วจะไม่เอาก็เกรงท่านจะว่า จึงนำหินก้อนนั้นถักลวดแขวนคอติดตัวไปสนามรบ ปรากฏว่าไม่เคยมีอันตรายและไม่เคยป่วยไข้ ปืนในสนามรบยิงมาเท่าไหร่ก็ไม่ถูกเลย

ในยุคของหลวงพ่อไปล่นั้น ทุกวันคราคร่ำไปด้วยคณะศรัทธามากราบขอพรและขอวัตถุมงคล ของท่านเป็นไปบูชาอา ธานาติดตัว ด้วยความเมตตาที่มากล้น ท่านไม่เคยปฏิเสธเรื่องกิจนิมนต์เลย ใกล้ไกลขนาดไหนก็ไป

ตามปกติหลวงพ่อไปล่ชอบสงบไม่ชอบอึกทึกครึกโครมในวันเผาศพท่าน พวกศิษย์ได้นำพลุ ตะไล ไฟพะเนียง ดอกไม้เพลิงมาจุดด้านหมดจุดไฟติดเลยพองานเลิกได้นำมาจุดใหม่ ดังสนั่นหวั่นไหว การจุดต้องลากไปจุดกันนอกวัด ถ้าในวัดก็ด้านน่าแปลกจริงเรื่องนี้

แต่พองานเลิกได้นำมาจุดใหม่ เกิดเสียงดังสนั่นหวั่นไหว กลายเป็นเรื่องเล่าขานมาจนทุกวันนี้ ใครๆ รู้กันทั่วได้พูดถึงอภินิหารของท่านมาจนทุกวันนี้กระดูกขี้เถ้าคนที่ไปเผาเข้าแย่งกันอุตลุด ไม่มีเหลือ ทั้งนี้เพราะความเลื่อมใสศรัทธา มีคนเล่าว่าแม้แต่ท่านมรณภาพไปแล้ว หนังยังเหนียว พวกสัปเหร่อเอามีดตบแต่งศพก็ยังเฉือนไม่เข้า ต้องจุดธูปจุดเทียนบอกเล่าขอขมา แม้กระนั้นก็ยังเฉือนไม่เข้าอยู่นั่นเอง และศพก็แห้งไปเลยๆ ไม่มีกลิ่นเน่าเหม็นทั้งนี้เพราะท่านรักษาศีลบริสุทธิ์นั่นเอง

มรณภาพ ปี 2482รวมสิริอายุ 79 ปี 56 พรรษา หลังจากหลวงพ่อไปล่มรณภาพ งานท่านจะไม่สามารถจุดพลุได้ เมือทำการบิงด้วยปืนลูกโม่ ก็ไม่สามารถระเบิดกระสุนให้ส่งเสียงดังได้ ทางวัดได้จัดการสร้างเมรุลอย แม้แต่จีวรก็ยังไม่ไหม้ หลังจากเผาได้แล้ว ชาวบ้านละแวกนั้น พากันแย่งเก็บอัฐิของท่านไปจนหมด เช็ดจนสะอาดเกลี้ยงเกลา
หากเนื้อฝาบาตร ล้างละก็ จะเหลืองอร่าม มีเนื้อทองวิ่งแล่นอยู่ไปมา
เหรียญห่อของหลวงพ่อไปล่นั้นจะมีการหล่ออยู่2ครั้ง คือ 1.ชาวบ้านช่วยกันหล่อขึ้นมา โดยตาพุ้ม(พี่ชายของหลวงพ่อไปล่)เป็นคนทำเบ้าและกำเนินการหล่อพระทั้ง3พิมพ์ คือ 1.พิมพ์จอบ 2.พิมพ์รูปไข่ 3.พิมพ์เสมา (ทั้งสามพิมพ์จะมีทั้งเนื้อ ทองเหลืองและเนื้อขันลงหิน) โดยวรรณะของเหรียญจะแตกต่างกันเพราะนำโลหะที่พอจะหาได้ที่วัดและของชาวบ้านมาหล่อ 2.จ้างโรงหล่อ หล่อเหรียญขึ้นมา มีแค่ พิมพ์จอบกับ พิมพ์รูปไข่ เลยจำแนกออกมาให้ละเอียดขึ้นอีกหน่อยว่า พิมพ์วัด กับ พิมพ์โรงหล่อ วิธีแยกแยะคือ พิมพ์วัดจะสวยสู้พิมพ์โรงหล่อไม่ได้ครับ(เหมือนจะแยกง่าย )พระที่หล่อออกมาทั้ง2ครั้งจึงมีวรรณะของเนื้อที่ต่างกัน เพราะที่หล่อที่วัดอาจจะมีโลหะหลายๆอย่างผสมกันแต่หนักที่ทองเหลืองส่วนที่หล่อที่โรงหล่อ จะเป็นทองเหลืองล้วนๆ และจะมีอีกอย่างคือ พิมพ์ชาวบ้าน คือชาวบ้านหล่อกันเองหรือวัดใกล้เคียงที่หล่อแล้วนำมาให้หลวงพ่อไปล่ปลุกเสก

เหรียญหล่อพิมพ์จอบใหญ่ และเหรียญหล่อรูปไข่ สร้างในปีเดียวกันคือในปีพุทธศักราช 2478 ในวาระที่ท่านอายุครบ 75 ปี แม้การสร้างอยู่ในปีเดียวกัน แต่เล่ากันว่ามีการหล่อหลายวาระ ตามความต้องการของลูกศิษย์ที่มาให้ช่างหล่อให้ เล่ากันว่าช่างหล่อเป็นน้องชายแท้ ๆ ของหลวงพ่อ หากมีลูกศิษย์นำเนื้อโลหะอะไรมาให้หล่อ ช่างก็จะหล่อให้ตามความประสงค์ และหลวงพ่อจะปลุกเสกให้เป็นคราว ๆ ไป (ข้อมูลนี้ได้มาจาก คุณบัณฑิต กรกนก)ส่วนเหรียญหล่อทรงเสมาและเหรียญหล่อรูป 5 เหลี่ยม ไม่แน่ชัดว่าสร้างในปีใด การแจกเหรียญนั้นบางท่านเล่าว่าเหรียญหล่อพิมพ์จอบใหญ่ท่านไว้แจกผู้ชาย เหรียญหล่อรูปไข่ไว้แจกสตรี ส่วนเหรียญทรงเสมาเนื้อสัมฤทธิ์สำหรับแจกเด็กเหรียญ 5 เหลี่ยม เนื้อสัมฤทธิ์ (รุ่นล้างป่าช้า) กล่าวกันว่าสร้างในวาระที่ท่านปฏิสังขรณ์ป่าช้าวัดกำแพง ซึ่งชำรุดเสียหายจากภาวะน้ำท่วม คงจะมอบให้กับผู้มาช่วยซ่อมแซมบูรณะป่าช้าอย่างไรก็ดี ตามที่ได้สอบถามจากคนที่ทันยุคหลวงพ่อไหล่ หลวงพ่อไปล่ไม่เคยสร้างวัตถุมงคลเพื่อแลกกับปัจจัยในการสร้างถาวรวัตถุ ส่วนใหญ่เป็นการให้เปล่า ๆ จำนวนเหรียญที่สร้างรวมกันมีจำนวนไม่มากนัก น่าจะอยู่ในจำนวนหลักร้อย ไม่ถึงพันเหรียญ

วัตถุมงคลของ หลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง กรุงเทพฯ นอกจากเหรียญจอบยอดนิยมแล้ว ยังมีเหรียญรูปไข่ สร้างเนื้อสัมฤทธิ์ และทองเหลืองฝาบาตร ที่ต้องทำเป็นเหรียญหล่อท่านบอกว่าพิธีเข้มข้นกว่าเหรียญปั๊มมาก และเหรียญรุ่นนี้ก็มีประสบการณ์ดังมาก

พระพุทธคุณของเหรียญหล่อของหลวงพ่อไปล่ท่านจึงขึ้นชื่อในเรื่องมหาอุดคงกระพันชาตรี และเมตตามหานิยม เป็นที่นิยมของผู้คนในย่านบางบอน บางขุนเทียน

คำขวัญของเหรียญ
"มีเหรียญหลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง ใครจะมาฆ่าแกงก็ไม่ต้องกลัว ถึงไหนถึงกัน คงกระพันชาตรีดีนักแล"

หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง ชื่อเสียงอาจจะดังกว่าหลวงพ่อไปล่ เพราะเหรียญของท่านติดอันดับ "ท็อปไฟว์" ชุดเบญจภาคีเหรียญ แต่เรื่องเวทวิทยาคมต้องบอกว่า "ข่ม" กันไม่ลง ชาวบางขุนเทียนและคนฝั่งธนบุรียกนิ้วให้ว่า "ไม่ธรรมดา" ทั้งคู่

คาถาที่หลวงพ่อไปล่ภาวนาเป็นประจำ คือกำแพงแก้ว ๗ ประการ ท่องว่า พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สัตตะระตะมะปะการัง อัมมหากัง สะระณังคัจฉามิ สุสุละละโสโส นะโมพุทธายะ พุทโธ พระบัง ธัมโม พระบัง สังโฆ พระบัง

พระเทพสิทธินายก (หลวงพ่อเลียบ) อดีตเจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชร เทเวศร์ และวัดเลา ซึ่งเป็นศิษย์อุปัชฌาย์องค์เดียวกัน เคยกำชับพวกนักเลงว่า อย่าไปเล่นกับท่านวัดกำแพงนะ ท่านเป็นคนจริง อย่าไปทำแหยให้ท่านเห็นเป็นอันขาด อาจจะหมดลายไปเลยทีเดียว

ชื่อเสียงของท่านโด่งดังถึงขั้นถูกบรรจุเป็นคำขวัญของเขตบางขุนเทียนคือ "หลวงพ่อไปล่วัดกำแพง แหล่งเกษตรกรรม วัฒนธรรมมอญบางกระดี่ พื้นที่ทะเลกรุงเทพฯ"


คาถาบูชาหลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง

ตั้งนะโม 3 จบ แล้วว่าตามดังนี้
อิมินา สักกาเรนะ ฉันทะสะระเถรัง ปูเชมิ
เต ชะ สุ เน มะ ภู จะ นา วิ เว มะอะอุ
อะระหัง พุทโธ โลกะวิทู
พุทธัง สัตตะรัตตะนะปะการัง อัมหากัง สะระณัง คัจฉามิ
สุสุ ระระ ธาธา โสโส นะโมพุทธายะ
พุทโธ พระบัง ธัมโม พระบัง สังโฆ พระบัง
พระพุทธอยู่ข้างหลัง พระอะระหังอยู่เบื้องหน้า
ตรงกลางคือ ตัวข้าพเจ้า มหาเดชา ภวันตุเม

ไม่เกินกรรมท่านช่วยได้จริงๆ หลวงปู่ท่านชอบ ยำปูเค็ม หมากพลู

รุ่น 2 ออกปลายปี 2533 พิธีใหญ่ หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ เป็นประธานการปลุกเสกครับ พร้อมเกจิผู้ทรงคุณอีก 9 รูป คนพื้นที่บางบอนแท้ๆ ยังตามเก็บไม่ทัน
โรงหล่อทำหน้าที่หล่อและตัดออกจากช่อและแต่ง ส่วนวัดจะทำหน้าที่ตอกโค๊ตครับ เหรียญจอบรุ่นสองนี้ โรงหลอทำการหล่อเกินเผื่อเสียแล้วไม่ทำลายทิ้ง พระที่หล่อเกิน ไม่ได้ตอกโค๊ต และโค๊ตปลอมทำออกมาได้ไม่เหมือน

หลวงพ่อไปล่ ศักดิ์สิทธิ์มาก ลูกศิษย์ที่นับถือท่าน แขวนเหรียญที่ไม่ทัน ก็มีประสบการณ์ไม่น้อยเลย แม้แต่คนแขวนของปลอม อาราธนาท่านทุกวัน ท่านยังคุ้มครอง ห้อยหลวงพ่อไปล่แล้วไม่ตายโหง







พ.ศ. ๒๕๕๕ พระครูเกษมธรรมาภินันท์สร้างรุ่น สร้างมณฑปหลังใหม่
     ๑. เหรียญจอบหล่อโบราณหลวงปู่ไปล่ ฉนฺทสโร เนื้อทองคำ ตามจำนวนสั่งจอง
     ๒. เหรียญจอบใหญ่นำฤกษ์เนื้อโลหะผสม ๓,๔๗๘ เหรียญ
     ๓. เหรียญจอบใหญ่เนื้อเงิน ๔,๔๗๘ เหรียญ
     ๔. เหรียญจอบใหญ่เนื้อนวะโลหะ ๕,๔๗๘ เหรียญ
     ๕. เหรียญจอบใหญ่เนื้อทองแดง ๑๑,๔๗๘ เหรียญ
     ๖. เหรียญจอบใหญ่เนื้อทองเหลือง ๒๑,๔๗๘ เหรียญ

เนื้อฆ้องเก่า




พิธีพุทธาภิเษก วันศุกร์ที่ ๒ มีนาคม ๒๕๕๕
พิธีเริ่มประมาณ ๑๖:๓๐ เสร็จสิ้นประมาณ ๑๙ ๔๐

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดสุทัศน์ฯ ประธานจุดเทียชัย
1.หลวงพ่อละออ วัดหนองหลวง
2.หลวงพ่อสาย วัดท่าไม้แดง
3.หลวงปู่นาม วัดน้อยชมพู่
4.หลวงพ่อชาญ วัดบางบ่อ
5.หลวงพ่อสะอาด วัดเขาแก้ว
6.หลวงพ่อพูน วัดบ้านแพน
7.หลวงพ่อเอียด วัดไผ่ล้อม
8. หลวงพ่อคง วัดเขากลิ้ง
9.หลวงพ่อฟู วัดบางสมัคร
10.หลวงปู่แขก วัดสุนทรประดิษฐ์

พระอาจารย์ชาญณรงค์ เป็นเจ้าพิธี

หลังเสร็จพิธีหลวงพ่อสะอาด วัดเขาแก้วบอกแก่มัคทายกว่า ท่านเห็นหลวงปู่ไปล่มาร่วมเสกวัตถุมงคลด้วยเป็นการเห็นหลวงปู่ไปล่อีกเป็นครั้งที่สอง ซึ่งบางคนที่ปฏิบัติก็เห็นเช่นกันว่าหลวงพ่อไปล่ได้เดินมาจากทางด้านหลังพระอุโบสถ




วันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

หลวงปู่จันทา-วัตถุมงคลที่ระลึก

หลวงปู่บุญเพ็ง กัปปโก วัดป่าวิเวก ขอนแก่น กล่าวรับรองว่า "หลวงปู่จันทาองค์นี้เก่งจริง ๆ"
ประมาณปี 2538 คุณอุตฺตโมไปกราบหลวงปู่บุญเพ็ง กัปปโก ที่วัดป่าวิเวก ขอนแก่น ก่อนนมัสการกราบลาท่าน ท่านให้ผ้ายันต์มงกุฏพระเจ้าสีเหลืองมา 1 ผืน แล้วบอกว่าผ้ายันต์นี้ศักดิ์สิทธิ์มาก หลวงพ่อที่ทำ "เก่งจริง ๆ" คุณอุตฺตโมอ่านดูอักขระผ้ายันต์และดูรูปพระที่สกรีนในผ้ายันต์เป็นภาพพระสงฆ์ใส่แว่นตาและเขียนว่า "หลวงปู่จันทา ถาวโร วัดป่าเขาน้อย อ.วังทรายพูน จ.พิจิตร" พิมพ์ด้วยหมึกสีดำ



คุณ becknui ได้เขียนไว้ว่า
"วันนี้ได้มีโอกาสคุยกับคุณอ้อย เจ้าของร้านผ้าไตรโยมอ้อย ปากทางเข้าวัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ คุณอ้อยได้เล่าให้ฟังว่า ได้ทำบุญกับหลวงตา(คุณอ้อยเรียกหลวงปู่จันทาว่าหลวงตา)ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 เคยนิมนต์ท่านมาฉันที่ร้าน 2 ครั้งและท่านได้เมตตาเขียนยันต์ไว้ที่ผนังร้านด้วย (ขออภัยไม่ได้ถ่ายภาพมาให้ชมกันครับ)


คุณอ้อยได้เล่าว่าครั้งหนึ่งเคยถามหลวงปู่จันทาว่าวัตถุมงคลของหลวงตานั้นใส่ไปลอดราวผ้า ลอดผ้าถุงนี่จะเสื่อมหรือไม่ หลวงปู่จันทาได้ตอบว่า "ไม่มีเสื่อม ของแท้ไม่เสื่อม ทำอย่างไรก็ไม่เสื่อม" "



คุณ เก้าช่อง
ผมเคยนำเหรียญนี้ไปให้พี่ที่สัมผัสพลังงานได้ เค้าพูดว่า เหรียญนี้สามารถพลิกดวงชะตาได้ เป็นเหรียญที่ดีมาก
สาธุ สาธุ สาธุ กราบพระบาทหลวงปู่จันทา ครับ



วัตถุมงคลที่ระลึก
พระเดชพระคุณหลวงปู่จันทาเมตตาอธิษฐานจิตลงวัตถุมงคลไว้หลายรุ่น บางรุ่นแจกสำหรับคณะศรัทธาเดินทางเข้ากราบหลวงปู่ บางรุ่นจัดสร้างขึ้นมาเพื่อแจกเฉพาะผู้สละปัจจัยสร้างพระถวายหลวงปู่
หลวงปู่จันทา ท่านเป็นพระนักปฏิบัติ เอาชีวิตเข้าแลกเป็นเดิมพัน ท่านเป็นนักต่อสู้กับกิเลส ธุดงค์หนักมาก ชอบสอนคนให้ปฏิบัติรักพระธรรม ท่านไม่ค่อยสนใจนิยมพระเครื่องนัก ฉะนั้นพระของท่านจึงหายากมาก......... แต่ท่านก็ยังมีเมตตาในด้านนี้บ้างตามสมควร ทำให้เราๆ ได้เห็นพระเครื่องของท่านบ้าง

พระกริ่งเมฆพัด

พระกริ่งเมฆพัด จำนวนการสร้าง ๒๐ องค์ ใต้ฐานอุดผงพุทธคุณ กระเบื้องหลังคาสมัยหลวงพ่อเนียม วัดน้อย สุพรรณบุรี

เมื่อผสมโลหะธาตุสำเร็จเป็นเมฆพัด หล่อออกมาเป็นแท่งได้ จำนวน ๓ แท่ง น้ำหนักทั้งสิ้น ๑.๒ กิโลกรัม อธิษฐานโลหะธาตุสำหรับเทหล่อเป็นองค์พระโดยพระครูวินัยธร(หลวงตาม้า) วิริยธโร จารอักขระลงโลหะธาตุ และปลุกเสกก่อนเทหล่อเป็นองค์พระโดยหลวงพ่อตี๋ วัดหูช้าง นนทบุรี ในวันที่ ๔ มกราคม ๒๕๕๒ หลังจากนั้นแช่ในน้ำมนต์เสกไม่ต่ำกว่า ๕ ปี เป็นเวลา ๓ วัน ก่อนเททองหล่อเป็นองค์พระ

เมื่อเทหล่อเป็นองค์พระแล้ว อธิษฐานจิตโดย
หลวงปู่จันทา ถาวโร วัดป่าเขาน้อย พิจิตร วันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
หลวงพ่อมหาสิงห์ วิสุทโธ วัดพระพุทธบาทถ้าป่าไผ่ ลำพูน วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
หลวงพ่อหวล วัดพุทไธสวรรค์ อยุธยา (พิธีทำวัตรสวดมนต์เย็น) วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
หลวงปู่ครูบาสิงโต วัดอโยธยา อยุธยา วันที่ ๕ ก.ค. ๒๕๕๒
หลวงพ่อแย้ม ฐานยุตฺโต เจ้าอาวาส วัดสามง่าม ดอนตูม วันที่ ๕ มิ.ย. ๒๕๕๒
พระครูสังฆรักษ์(อวยพร) ฐิติญาโณ วัดดอนยายหอม อ.เมือง จ. นครปฐม วันที่ ๕ มิ.ย. ๒๕๕๒
พระอาจารย์ศักดิ์สิทธิ์ วัดลำกระดาน มีนบุรี กรุงเทพฯ วันที่ ๓๐ มิ.ย. ๒๕๕๒
และพระครูวินัยธร(หลวงตาม้า) วิริยธโร วัดถ้าเมืองนะ เชียงใหม่
วันที่ ๕ พ.ค. /๔ ก.ค. / ๑ ส.ค. ๒๕๕๒



พระผงสมเด็จพิมพ์เส้นด้าย
จำนวนการสร้าง ๕๐๐ องค์ มวลสารเป็น ว่าน ๑๐๘, เกสรทั้ง ๕, ผงอธิษฐาน และปลุกเสก โดย หลวงพ่อดาบส หลวงพ่อพรหม วัดขนอนเหนือ หลวงพ่อผาด วัดบ้านกรวด, แป้งเสก หลวงปู่จันทา และหลวงตาม้า
ในการนี้มีการสร้างสำหรับแจกในงานคล้ายวันเกิดญาติผู้ใหญ่ อีกจำนวน ๒๐๐ องค์ เนื้อออกขาวอมชมพู




พระผงสมเด็จพิมพ์เจดีย์
จำนวน ๑๕๐๐ องค์ มวลสารประกอบด้วย ว่าน๑๐๘, ผงธูป, ดอกไม้บูชาพระ, เศษกระเบื้องสมัยหลวงพ่อเนียม วัดน้อย บางปลาม้า สุพรรณบุรี




พระปิดตาเนื้อผงคลุกรัก

พระปิดตาฝังตะกรุดทองคำ

เพื่อเป็นการอนุรักษ์และทดแทนพระปิดตาผงคลุกรักของพระคณาจารย์รุ่นเก่าที่นับวันจะหายาก จึงได้นำผงที่ใช้ในการสร้างพระถวายองค์หลวงปู่จันทามาคลุกกับยางรักอย่างดีจนเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน แล้วนำมากดในแม่พิมพ์ประกับครึ่งซีกหน้าหลัง เมื่อถอดออกจากพิมพ์จะได้ลักษณะพิมพ์ลอยองค์ รูปทรงของพระปิดตาคลุกรักนี้ได้เค้าโครงจากพระปิดตาของหลวงปู่เอี่ยม วัดสพานสูง นนทบุรี พระปิดตาคลุกรักสร้างออกมาด้วย ๕ วาระใหญ่ๆ คือ

๑. เสาร์ห้า ปี ๕๓
ประมาณ ๘๐๐ องค์
๒. ถวายพ่อแม่ครูบาอาจารย์สายกรรมฐาน
ประมาณ ๓๐๐ องค์
๓. แจกเป็นของขวัญให้กับลูกค้าของหมอชาวบ้าน
จำนวน ๑๐๐ องค์
๔ ช่วงพรรษา ปี ๕๔
ฝังตะกรุดทองคำดอกสั้น จำนวน ๒๐ องค์
ฝังตะกรุดทองคำดอกยาว จำนวน ๙ องค์
๕ ผสมผงเถ้าอังคารหลวงปู่จันทา


พิมพ์ครึ่งซีก ล้อพิมพ์หลวงพ่อแก้ว
จำนวนการสร้าง ๕๐ องค์



พระสมเด็จแสตมป์








จำนวนการสร้างทั้งสิ้น ๕๐๓๒ องค์ แยกเป็นฝังตะกรุด ๓๒ องค์ พิมพ์ธรรมดา ๕๐๐๐ องค์ ลูกศิษย์หลวงปู่ท่านหนึ่งเล่าว่า หลานของนายทหารท่านหนึ่ง เรียนอาชีวะถูกคู่อริฟัน แต่ไม่ระคายผิว แค่เสื้อขาด




พระขุนแผนวังทรายพูน

พระขุนแผนเนื้อผงคลุกรัก ปี ๒๕๕๔ จำนวนการสร้างทั้งสิ้น ๒๗ องค์ มวลสารจัดสร้าง ผงธูป ดอกไม้บูชาพระ พระผงแตกหักรุ่นก่อนๆ ของหลวงปู่จันทา สีผึ้ง แป้งเสกหลวงปู่สาย วัดบางรักใหญ่ ผงกระเบื้องสมัยหลวงพ่อเนียม วัดน้อย สุพรรณบุรี ว่านทางเมตตามหานิยม